การศึกษาหมวดคำและความหมาย ของคำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัย

Main Article Content

เอกชิต สุขประสงค์
วิภาส โพธิแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หมวดคำและความหมายเชิงไวยากรณ์ของคำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลคำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัยจากเอกสารประเภทจารึก 37 หลัก และเก็บข้อมูลคำว่า “ใน”  ที่ปรากฏเป็นคำเดี่ยวในภาษาร้อยแก้วเท่านั้น


จากการวิเคราะห์หมวดคำและความหมายเชิงไวยากรณ์ของคำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัย พบว่า คำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัย  มี 2 หมวดคำ ได้แก่ 1) หมวดคำบุพบท และ 2) หมวดคำเชื่อมนาม และมีความหมายเชิงไวยากรณ์ 9 ความหมาย ทั้ง 9 ความหมายนี้มีความหมายมโนทัศน์ร่วมกัน คือ “ความเป็นภายใน” ในบรรดาความหมายเหล่านี้ มี 1 ความหมายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งในหมวดคำบุพบทและหมวดคำเชื่อมนาม คือ ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางพื้นที่แบบปิดล้อม” ความหมายที่ปรากฏในหมวดคำบุพบท แต่ไม่ปรากฏในหมวดคำเชื่อมนาม 7 ความหมาย ได้แก่ ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเวลา” ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางสังคม” ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเอกสาร หรือข้อความ” ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางบุคคล” ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางจำนวน” ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางความรู้สึกนึกคิด” และความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเรื่อง ประเด็น หรือหัวข้อ” ความหมาย ที่ปรากฏในหมวดคำเชื่อมนาม แต่ไม่ปรากฏในหมวดคำบุพบท 1 ความหมาย คือ ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางความเป็นเจ้าของ”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวนพิศ อิฐรัตน์. (2518). การใช้คำและสำนวนในสมัยสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรัฐ เสน่ห์. (2556). การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ “ด้วย” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทกา พหลยุทธ. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำบุพบทในสมัยสุโขทัย อยุธยา กับสมัย ปัจจุบัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผไทมาศ ประมวล. (2563). เครือข่ายความหมาย ‘นอก’ ในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(1), 189-212.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2533). หน่วยที่ 13: ความหมาย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 22311 ภาษาไทย 3 (น. 287). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2532). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ). (2555). พจนานุกรมคำเก่าในภาษาไทย ฉบับชะเลยสัก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิลปากร, กรม. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สรณ์ แอบเงิน. (2559). หน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2544). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.