“เราจะผ่านวิกฤตไปด้วยกัน”: การโน้มน้าวใจในปริจเฉทการแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

Main Article Content

วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อโน้มน้าวใจในปริจเฉทการแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยอาศัยแนวคิดการโน้มน้าวใจ เก็บข้อมูลจากการแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของศูนย์ฯ ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 - 30 เมษายน 2563


ผลการวิจัยพบการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ ได้แก่ การใช้คำเรียก การใช้คำศัพท์ การใช้มูลบท การใช้อุปลักษณ์ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้สหบท การใช้ถ้อยคำเน้นย้ำ การใช้ประโยคที่สัมพันธ์กันแบบเหตุ-ผล การใช้ประโยคที่สัมพันธ์กันแบบเงื่อนไข และการใช้คำขวัญหรือสโลแกน กลวิธีทางภาษาเหล่านี้นำไปสู่การโน้มน้าวใจประชาชนให้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ต้องเชื่อและปฏิบัติตามรัฐ เพื่อจะผ่านพ้นภาวะวิกฤตนี้ไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ พงศ์วิไลทรัพย์. (2551). ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (22 กุมภาพันธ์ 2563ก). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 50 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no50-220263.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (26 มีนาคม 2563ข). รายงานสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 83 วันที่ 26 มีนาคม 2563. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situationno83260363_1.pdf

แกมกาญจน์ พิทักษ์วงศ์. (2560). ปริจเฉทการพูดของมัคนายกในวัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม: องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาในการโน้มน้าวใจ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย ประทีปนำชัย. (2548). การตระหนักรู้ ทัศนคติ ของผู้รับสาร และผลจากการโน้มน้าวใจของโฆษณาส่งเสริมสังคม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพล เอกพจน์, วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา, และปานปั้น ปลั่งเจริญศรี. (2563). [ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ศัตรู]: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคนไทยตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 9(1), 1-37.

นพวัฒน์ สุวรรณช่าง. (2553). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในบทโฆษณาในนิตยสารสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (14 มีนาคม 2563). Weekend Focus: WHO ประกาศ ‘โควิด-19’ เข้าสู่ภาวะระบาดใหญ่ ‘อิตาลี’ ปิดเมืองทั้งประเทศ-ยอดติดเชื้อ ‘อิหร่าน’ เฉียดหมื่น. https://mgronline.com/around/detail/9630000025740.

วัลลภา จิระติกาล. (2550). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในโฆษณาเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย ปี พ.ศ. 2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศิริพรรณ กิจก้องเจริญ. (2551). เนื้อหาสารเกี่ยวกับความงามและผลในการโน้มน้าวใจที่นำเสนอทางเว็บบล็อกและเว็บไซต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริเพ็ญ เกษตรศิริกุล. (2555). สารเพื่อการโน้มน้าวใจ และผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจขายตรง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). (9 เมษายน 2563). คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. https://www.thaigov.go.th/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (12 มีนาคม 2563). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. https://www.thaigov.go.th/

สุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์. (2547). องค์ประกอบกับกลวิธีการโน้มน้าวใจในปริจเฉทการเขียนของพระพะยอม กัลยาโณ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธาทิพย์ อร่ามศักดิ์. (2551). กลวิธีการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจในคอลัมน์หมวดแฟชั่นในนิตยสาร SPICY พ.ศ. 2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพ กริ่งรัมย์. (2555). กลวิธีการโน้มน้าวใจในการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2554 ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

องค์การอนามัยโลก. (25 มีนาคม 2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก ประเทศไทย 25 มีนาคม 2563. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-03-25-tha-sitrep-32-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=2ffd1d75_0

อัญชลี ถิรเนตร. (2543). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloor, M., & Bloor, T. (2007). The practice of critical discourse analysis: An introduction. Hodder Arnold.

Iqbal, Z. et. al. (2020). Persuasive power concerning COVID-19 employed by Premier Imran Khan: A socio-political discourse analysis. Register journal. 13(1), 208-230.

Machin, D., & Mayr, A. (2012). How to do critical discourse analysis: a multimodal introduction. Sage.

O' Shaugnessy, J., & O' Shaughnessy, N. (2004). Persuasion in advertising. Routledge.

Pelclová, J., & lun, W. (2018). Persuasion in public discourse: cognitive and functional perspectives. John Benjamins Publishing Company.