เพรียกพร่ำจากไพรพฤกษ์: แนวคิดนิเวศสำนึกในรวมบทกวี “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก” ของ ไพวรินทร์ ขาวงาม

Main Article Content

กุลสตรี มันทิกะ
ธีรโชติ การสี
สุรเกียรติ มะสุใส
ศรัณย์ภัทร์ บุญฮก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดนิเวศสำนึกที่ปรากฏในรวมบทกวีนิพนธ์ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก” ของไพวรินทร์ ขาวงาม และวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอแนวคิดดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก ปรากฏแนวคิดนิเวศสำนึกอย่างเด่นชัด ผ่านการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ชีวิตของกวี โดยถูกนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของธรรมชาติ ที่นอกจากจะมีความสัมพันธ์ในฐานะฉาก เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกกับ ตัวละครเฉกเช่นวรรณคดีไทยในอดีตแล้ว แนวคิดดังกล่าวยังเป็นการมองธรรมชาติในลักษณะกระบวนทัศน์แบบองค์รวม เห็นได้จากธรรมชาติในฐานะมารดาผู้ให้กำเนิด ที่พึ่งพา ผู้เยียวยา หรือแม้แต่เป็นคันฉ่องส่องพุทธธรรม ในทางกลับกัน กวีได้นำเสนอพฤติกรรมที่สะท้อนถึงระบบความคิดของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางธรรมชาติ การสร้างภาพลักษณ์ของเมืองที่มีบทบาทเป็นผู้ร้าย การกำหนดคุณค่า และให้ความหมายแก่ธรรมชาติ โดยตัวละคร โครงเรื่อง และฉาก เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่แนวคิดเรื่องตัวตนเชิงนิเวศของกวี อันเป็นการยืนยันอัตลักษณ์ของมนุษย์และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกวีกับธรรมชาติที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ส่วนในแง่ของกลวิธีการนำเสนอแนวคิดนิเวศสำนึก ปรากฏการใช้ภาษา เครื่องหมายวรรคตอน สัญลักษณ์ และกลวิธีการเล่าเรื่อง ทำให้บทกวีนิพนธ์ฉายภาพแนวคิดนิเวศสำนึกได้อย่างเด่นชัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานมณี ภู่ภักดี. (2547). ความหมายและคุณค่าของชีวิตในนิเวศลุ่มลึกตามทัศนะของอาร์เน นาสส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=100458.

ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2560). “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism) บทแนะนำเบื้องต้น” ใน ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย. นาคร.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2540). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). “ใช่เพียงเดรัจฉาน: สัตว์ศึกษาในมุมมองของการวิจารณ์แนวนิเวศ” ใน ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย. นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. นาคร.

นฤมล อินทรลักษณ์. (2545). วัจนลีลาในการเสนอภาพลักษณ์สังคมเมืองในกวีนิพนธ์ของไพวรินทร์ ขาวงาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม: โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาตะวันตก. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง บุรินประโคน. (2561). ตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญศักดิ์ แสงระวี. (2544). สัจธรรมของสังคมมนุษยชาติ วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์. ชมรมวิทยาศาสตร์สังคม.

เบญจพร เนียรนาทสกุล. (2544). จินตภาพที่เกี่ยวกับธรรมชาติในกวีนิพนธ์ของอุชเชนี, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และไพวรินทร์ ขาวงาม (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2562). “Ecocriticism นิเวศวิจารณ์: วรรณกรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โลก”. ใน นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม. สยามปริทัศน์.

ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2545). ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก. แพรวสำนักพิมพ์.

ศุภิสรา เทียนสว่างชัย. (2560). แนวคิดนิเวศสำนึกในวรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2544). พุทธธรรมในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.