การใช้คำ “ที่” ในสมัยรัชกาลที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการใช้คำ ที่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้คำ ที่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบการใช้คำว่า ที่ ระหว่างสมัยรัชกาลที่ 4 กับสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ สำหรับข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นมาจากเอกสารสมัยรัชกาลที่ 4 จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ ราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ 4 ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2349-2400 และ ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2401-2404 ผลการศึกษาพบว่าคำว่า “ที่” ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการใช้ถึง 6 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1) ใช้เป็นคำนำหน้าประโยคลดฐานะ 2) ใช้หลังคำกริยา “เป็น” 3) ใช้เป็นคำบุพบท 4) ใช้เป็นคำซ้อน 5) ใช้ปรากฏร่วมกับคำว่า “จะ” เป็นส่วนประกอบของกริยาวลี 6) ใช้นำหน้าหัวข้อของประโยค เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการใช้คำ ที่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 กับสมัยอื่น ๆ พบว่าคำว่า “ที่” ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นคำที่มีการใช้อย่างหลากหลายมากกว่าการใช้คำว่า “ที่” ในสมัยอื่น
Article Details
References
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2503). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2349-2400. องค์การค้าของคุรุสภา.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2504). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2401-2404. องค์การค้าของคุรุสภา.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2537). ราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ 4. สำนักราชเลขาธิการ.
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2512). อนุพากย์ในภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ กิจสมบัติ. (2524). การใช้คำ ที่ ซึ่ง อัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาสินี ศรหิรัญ. (2524). ที่ ซึ่ง อัน ในคุณานุประโยค. วารสารอักษรศาสตร์, 11(1), 50-59.
วิจินตน์ ภานุพงศ์. (2520). โครงสร้างภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2540). สถานภาพงานวิจัยภาษาศาสตร์ในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2539). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.
Sindhvananda, K. (1970). The verb in modern Thai. Georgetown University.
Suwannamalik, P. (1974). Sentential Complementation in Thai [Master’s Thesis]. University of Washington.