การตั้งชื่อวัดมอญในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของชื่อวัดมอญในอำเภอเมือง อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี รวมถึงศึกษาค่านิยมและวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านชื่อวัดมอญในพื้นที่ดังกล่าว ข้อมูลที่ศึกษานำมาจากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวัดมอญ ผลการศึกษาพบว่าที่มาของชื่อวัดมอญมี 9 กลุ่ม ได้แก่ 1) การตั้งชื่อวัดตามสถานที่ในบริเวณที่ตั้ง 2) การตั้งชื่อวัดตามสิ่งปลูกสร้าง 3) การตั้งชื่อวัดตามชื่อหรือกลุ่มบุคคลสำคัญ 4) การตั้งชื่อวัดตามสถานที่สำคัญ 5) การตั้งชื่อวัดตามความเป็นสิริมงคล 6) การตั้งชื่อวัดตามชื่อพันธุ์ไม้ 7) การตั้งชื่อวัดตามสภาพภูมิประเทศ 8) การตั้งชื่อวัดตามเหตุการณ์สำคัญ และ 9) การตั้งชื่อวัดให้สัมพันธ์กับชื่อวัดอื่น ส่วนค่านิยมและวัฒนธรรมของคนในชุมชนที่สะท้อนผ่านชื่อวัดพบ 5 ประการ ได้แก่ 1) ชื่อวัดสะท้อนให้เห็นถึงสภาพภูมิประเทศบริเวณวัด 2) ชื่อวัดสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดและสถานที่โดยรอบ 3) ชื่อวัดสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น 4) ชื่อวัดสะท้อนให้เห็นถึงการยกย่องเชิดชูบุคคลสำคัญ และ 5) ชื่อวัดสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนชื่อวัด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมการศาสนา. (2526). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. โรงพิมพ์การศาสนา.
กุสุมา สุ่มมาตร์. (2552). การปรับเปลี่ยนชื่อวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี. คุรุสภาลาดพร้าว.
จักรกฤษณ์ อู่ตุ้ม. (2559). ภูมินามวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นฤมล คุงตะโหตร. (2547). การตั้งชื่อวัดในพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาสุวรรณ เกษจันทร์. (2548). การศึกษาวิเคราะห์ภูมินามของวัดในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาณพ แก้วหยก. (2555). รายชื่อวัดมอญในเมืองไทย. ใน ปทุมรามัญญธานี (น. 34-57). ม.ป.พ.
วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2561). การตั้งชื่อวัดในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 6: การเกษตรก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน (น. 1277-1285). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
วารดา พุ่มผกา, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, และบุญเดิม พันรอบ. (2559). ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 167-174.
วิระวัลย์ ดีเลิศ, สุธาสินี วิยาภรณ์, และชรินทร์ แพทย์ปรีดา. (2564). ภูมินามวัด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 10(1), 43-54.
สมชาย สุรชาตรี. (23 มีนาคม 2558). หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวัด. https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/2477
สำราญ จูช่วย. (2559). ภูมินามวัดในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษา และต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ และอัญชลี สิงห์น้อย (2547). ภูมินามของหมู่บ้านในเขตภาคเหนือตอนล่างจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภรณ์ โอเจริญ. (2551). มอญ: อารยธรรมเริ่มแรกของอุษาคเนย์อัตลักษณ์และชนชาติ ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ), มอญ-เขมรศึกษา (น. 20-64). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
โสภณ นิไชยโยค. (2547). 80 ปีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี: 48 ปี สมาคมไทยรามัญ. เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอ็ดเวอร์ไทซซิ่ง.
อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2558). ที่มาของชื่อวัดในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(1), 43-55.