“มุนิเวทาทฺริศาเกนฺเทฺร” และ “ศศิโกศาทฺริศาเกนฺเทฺร”: ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์บอกศักราชในจารึกเมืองเสมา ด้านที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
จารึกเมืองเสมา (นม. 25, K. 1141) พบบริเวณเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จารด้วยอักษรขอมโบราณ บันทึกด้วยภาษาสันสกฤตและเขมรโบราณ ระบุมหาศักราช 893 (พ.ศ. 1514) มีเนื้อหาว่าด้วยการแสดงความนอบน้อมต่อเทพในศาสนาฮินดู ยอพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และข้าราชการประดิษฐานรูปเคารพในศาสนาฮินดูและพุทธ พร้อมทั้งถวายข้าทาสและสิ่งของแด่ศาสนสถาน บทความนี้มุ่งเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาสันสกฤตที่บอกศักราชในด้านที่ 2 คือ คำว่า “มุนิเวทาทฺริศาเกนฺเทฺร” ในบรรทัดที่ 3 ควรแปลว่า “ในปีมหาศักราช 747 (พ.ศ. 1368)” และคำว่า “ศศิโกศาทฺริศาเกนฺเทฺร” ในบรรทัดที่ 5 ควรแปลว่า “ในปีมหาศักราช 751 (พ.ศ. 1372)” เนื้อหาในมหาศักราชทั้งสองดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องราวในอดีตที่สอดคล้องกับจารึกบ้านพันดุง (นม. 38) ที่พบบริเวณบ้านพันดุง ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีอายุเก่ากว่าจารึกเมืองเสมาถึง 142 ปี ดังนั้น จารึกเมืองเสมาด้านที่ 2 นี้จึงเป็นการยืนยันประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นบริเวณเดียวกัน ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ มีทั้งกลุ่มคนที่นับถือศาสนาฮินดูและพุทธอาศัยอยู่มาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2564). จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 2). หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา และเคอิโกะ ซาโตะ. (2564). จารึกเมืองเสมา. ใน สมบัติ มั่งมีสุขศิริ (บรรณาธิการ), จารึกสันสกฤตที่สำคัญในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 (น. 420-443). นิติธรรม.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2530). จารึกพระศรีวัตสะสร้างเทวรูป อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต. ศิลปากร, 31(5), 91-96.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2542). ศัพท์สัญลักษณ์ในศักราช. ใน จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, กรรณิการ์ วิมลเกษม, สุนทรี พิรุณสาร, จตุพร ศิริสัมพันธ์, นพชัย แดงดีเลิศ, พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, มนทิรา วงศ์ชะอุ่ม และสมภพ มีสบาย (บรรณาธิการ), 80 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร รวมบทความวิชาการด้านจารึกและเอกสารโบราณ (น. 104-109). พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย. (2558). การใช้สังเกตสังขยาในจารึกกัลยาณี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2,607-2,615.
ณัฐพล บ้านไร่ และชัยณรงค์ กลิ่นน้อย. (2564). ภูตสังขยาในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์. มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 35-46.
นิพัทธ์ แย้มเดช. (2564). อลังการในบทสดุดีพระเกียรติในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่7 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2551). วฤตตรัตนากร และวุตโตทยมัญชรี การศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบฉันทลักษณ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม.
พระมหากวีศักดิ์ ญาณกวิ และทรงธรรม ปานสกุณ. (2562). จารึกโคกสวายเจก: จารึกภาษาบาลีในอาณาจักรเขมรโบราณ. มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 5(1), 51-67.
พระมหากวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์. (2564). จารึกบ้านพันดุง. ใน สมบัติ มั่งมีสุขศิริ (บรรณาธิการ), จารึกสันสกฤตที่สำคัญในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 (น. 401-419). นิติธรรม.
พระสิริรัตนปัญญาเถระ. (2555). วชิรสารัตถสังหคะ (แย้ม ประพัฒน์ทอง, ผู้แปล). ม.ป.ท.. (ต้นฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. 2078).
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ นครราชสีมา. (ม.ป.ป.). ศิลาจารึกบ้านพันดุง. https://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/view/12487-ศิลาจารึกบ้านพันดุง--Ban-Phan-Doong-Stone-Inscription-
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (26 มิถุนายน 2564). จารึกเมืองเสมา. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/353
สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2562). ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญา ทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ์ เชน. สยามปริทัศน์.
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2560). ภูตสังขยา: ศัพท์แทนจำนวนในวัฒนธรรมภาษาสันสกฤต. ใน ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว (บรรณาธิการ), คือรัตนะประดับนภา (น. 203-236). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินันท์ สงเคราะห์. (2544). สถาบันกษัตริย์เขมรโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อำไพ คำโท. (2549ก). จารึกเมืองเสมา. ใน รวมบทความและศิลาจารึก (น. 238-254). มหามกุฎราชวิทยาลัย.
อำไพ คำโท. (2549ข). ใบบันทึกคำขอร้องชุดที่ 1 และชุดที่ 2. ใน รวมบทความและศิลาจารึก (น. 450-454). มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Monier-Williams, M. (1989). A Sanskrit-English dictionary (Reprint). Motilal Banarsidass.
Pou, S. (2001). Stèle de Sema (Korat) (K.1141). In S. Pou (Ed.), Nouvelles inscriptions du Cambodge II&III (pp. 115-118). École Française d’Extrême-Orient.
Sarma, S. R. (2019). A descriptive catalogue of Indian astronomical instruments: Abridged version. tradition GmbH.
Satpathy, B. (2018). Pancha Kosha theory of personality. The International Journal of Indian Psychology, 6(2), 33-39.
Sircar, D. C. (1965). Indian epigraphy. Motilal Banarsidass.
Shastri, S. V. (2014). Sanskrit inscriptions of Thailand. Vikas Computer & Printers.