การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นพลวัตของวรรณคดีมรดกของไทยในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ และวิธีคิดของกวีสมัยใหม่ที่นำวรรณคดีมรดกของไทยมาสื่อความหมายใหม่ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยศึกษากวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่นับจากผลงานของอังคาร กัลยาณพงศ์ และศึกษาจากช่วง พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2561 จากผลงานที่มีการพิมพ์รวมเล่มและต้องมีบทกวีที่นำวรรณคดีมรดกของไทยมาสร้างใหม่ด้วย สำหรับขอบเขตของเจ้าของผลงานตามแนวทางที่นำมาศึกษาประกอบด้วยผลงานของอังคาร กัลยาณพงศ์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สุจิตต์ วงษ์เทศ ไพบูลย์ วงษ์เทศ ขรรค์ชัย บุนปาน คมทวน คันธนู ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ไพวรินทร์ ขาวงาม แรคำ ประโดยคำ พนม นันทพฤษ์ กานติ ณ ศรัทธา โชคชัย บัณฑิต นายทิวา อังคาร จันทาทิพย์ และเชษฐภัทร วิสัยจร เป็นตัวแทนของยุคสมัย
ผลการศึกษาพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์ของกวีไทยสมัยใหม่ส่วนหนึ่งเกิดจากการเรียนรู้มรดกทางวรรณศิลป์ของไทย และนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาสืบสรรค์ ทำให้เห็นความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตของวรรณคดีแต่โบราณที่ไม่ได้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่ยังคงมีชีวิตอยู่ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งเกิดจากการนำฉันทลักษณ์จากวรรณคดีมรดกของไทยมาสืบสรรค์เป็นตัวบทใหม่ การนำเนื้อหาหรือเหตุการณ์และตัวละครจากวรรณคดีมรดกมาปรับใช้ในตัวบทใหม่ การดัดแปลงตัวบทหรือเหตุการณ์จากวรรณคดีมรดก การล้อเลียนเนื้อหาหรือขนบของวรรณคดีมรดก และการพาดพิงหรืออ้างถึงวรรณคดีมรดก การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของกวีไทยสมัยใหม่ยังทำให้มองเห็นวิธีคิดหรือการสื่อความหมายของกวีที่มีต่อบริบททางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยในมิติของการสื่อให้เห็นคุณค่าของกวีนิพนธ์ไทย การวิพากษ์ วิจารณ์สังคมวัฒนธรรม และสื่อความขัดแย้งในบริบทของสังคมการเมืองร่วมสมัย
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2543). โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร. องค์การค้าคุรุสภา.
กานติ ณ ศรัทธา. (2541). ลิลิตหล้ากำสรวล. แพรวสำนักพิมพ์.
คมทวน คันธนู. (2530). วิเคราะห์วรรณกรรม วิจารณ์วรรณกร. ดอกหญ้า.
เจตนา นาควัชระ. (2538). วิกฤตการณ์ของมนุษยศาสตร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
เชษฐภัทร วิสัยจร. (2549). สงครามศักดิ์สิทธิ์. นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
โชคชัย บัณฑิต. (2548). บ้านเก่า (พิมพ์ครั้งที่ 10). 340.
นายทิวา. (2553). ในความไหวนิ่งงัน. แอล. ที. เพรส.
นิตยา แก้วคัลณา. (2544). การศึกษาขนบ “การอ้างถึง” ในวรรณกรรมไทย. รายงานการวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา แก้วคัลณา. (2561). การสืบสรรค์ในกวีนิพนธ์ไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2523). เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว. เรือนแก้วการพิมพ์.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2529). คำหยาด (พิมพ์ครั้งที่ 4). ก. ไก่.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2530).ชักม้าชมเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). การเวก.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2541). เขียนแผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนาคารกรุงเทพ.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2520). หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ประชุมสุภาษิตสอนหญิง. (2555). กรมศิลปากร.
ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง. (2557). สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
พ.ณ ประมวญมารค [นามแฝง ]. (2513). นิราศนรินทร์คำโคลงและนิราศปลีกย่อย. เจริญธรรม.
พรเทพ โตชยางกูร. (2553). การอ้างถึงในนิราศสมัยใหม่: กลวิธีการสื่อสารและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพบูลย์ วงษ์เทศ. (2521). หมายเหตุร่วมสมัย. การเวก.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2541). เจ้านกกวี. แพรวสำนักพิมพ์.
ไพวรินทร์ ขาวงาม. (2548). คำใดจะเอ่ยได้ดังใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นาคร.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). การสืบทอดวรรณคดีมรดกในวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยของไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 30(4), 1078-1091.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2553). สืบสานสร้างสรรค์วรรณศิลป์. สถาพรบุ๊ค.
แรคำ ประโดยคำ. (2547). ในเวลา (พิมพ์ครั้งที่ 6). รูปจันทร์.
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ. (2552). ดอกไม้ดอกสุดท้าย. สามัญชน.
สถาพร ศรีสัจจัง. (2518). ก่อนไปสู่ภูเขา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปุถุชน.
สุนทรภู่. (2544). พระอภัยมณี (พิมพ์ครั้งที่ 16). ศิลปบรรณาคาร.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2541). หวังสร้างศิลป์นฤมิตเพริศแพร้ว: การสืบทอดขนบกับการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่. โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตต์ วงษ์เทศ และ ขรรค์ชัย บุนปาน. (2507). นิราศเมืองนนท์และนิราศมหาชัย. ม.ป.ท.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2519). เพลงยาวถึงนายกรัฐมนตรี. ประพันธ์สาส์น.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2528). ไพร่ขับเสภา. ศิลปวัฒนธรรม.
สุภัค มหาวรากร. (2556). การศึกษาเรื่องการแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา.วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(1), 1-17.
สุภานี คุ้มไพรี. (2557). การสืบทอดวรรณคดีและนิทานในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (2513). ศิลปบรรณาคาร.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2513). กวีนิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศึกษิตสยาม.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2521). บางกอกแก้วกำศรวลหรือนิราศนครศรีธรรมราช. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2535). ราชสดุดี มิ่งขวัญประชาธิปไตย. กองทุนเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปร่วมกับกองทุนโครงการรวมทุนน้ำใจไทย.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2542). กวีศรีอยุธยา. เคล็ดไทย.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2547ก). ปณิธานกวี (พิมพ์ครั้งที่ 9). ศยาม.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2547ข). ลำนำภูกระดึง (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศยาม.
อังคาร จันทาทิพย์. (2554). วิมานลงแดง. ดับเบิ้ลนายน์.
อาทิตย์ ดรุนัยธร. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วรรณคดีโบราณด้วยการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์: กรณีศึกษา อิเหนา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 1-16.