มโนทัศน์เกี่ยวกับแม่น้ำในรวมบทกวีนิพนธ์ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

Main Article Content

พิชามญชุ์ วรรณชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษามโนทัศน์ที่เกี่ยวกับแม่น้ำในรวมบทกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ โดยศึกษาจากรวมบทกวีนิพนธ์จำนวน 5 เล่มคือ 1. บ้านแม่น้ำ 2. พันฝน เพลงน้ำ 3. แม่น้ำรำลึก 4. แม่น้ำเดียวกัน และ 5. แม่น้ำที่สาบสูญ ผลการศึกษาพบว่า มโนทัศน์หลักที่เกี่ยวกับแม่น้ำที่ปรากฏในรวมบทกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ มีดังนี้คือ 1. แม่น้ำเป็นแหล่งกำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต และเชื่อมโยงกับมารดาผู้ให้กำเนิด 2. แม่น้ำแฝงหลักปรัชญาชีวิต โดยกวีเน้นประเด็นที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับธรรมชาติ และอิงกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3. แม่น้ำเป็นสื่อถึงอดีต วิถีชีวิตชนบท รากเหง้าและตัวตนของกวี  4. แม่น้ำเผยด้านมืดในจิตใจของมนุษย์ คือพฤติกรรมการทำลายธรรมชาติ และทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งการมองไม่เห็นคุณค่าของธรรมชาติและมนุษย์ และ 5. แม่น้ำกับการสื่อความในลักษณะการแสดงอัตชีวประวัติของกวี ทั้งแม่ แม่น้ำ และประสบการณ์ในวัยเยาว์ล้วนมีผลหล่อหลอมให้กวีเลือกใช้ชีวิตแบบสวนกระแส และเลือกอาชีพเป็นคนเขียนหนังสือ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พิชามญชุ์ วรรณชาติ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

อาจารย์สังกัดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปัจจุบันลาศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. (2551). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ธรรมชาติในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย (พ.ศ. 2520-2547). ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. (2555). มโนทัศน์เรื่องนิพพานในบทกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 31-47.

กัญจณ์ปภัสส์ สุวรรณวิหค. (2558). “น้ำ” ในวรรณกรรมนิทานสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เจตนา นาควัชระ. (2549). วิถีแห่งการวิจารณ์: ประสบการณ์จากสามทศวรรษ. ชมนาด.

ชุมสาย สุวรรณชมภู. (2551). การเสี่ยงทายในวรรณคดีไทย: เสี่ยงน้ำ เสี่ยงลูกและเสี่ยงเทียน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 30(1), 80-95.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2546). ส่องลิลิตพระลอ พินิจขุนช้างขุนแผน. มูลนิธิเด็ก.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2558). มาตุคามสำนึกและการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(2), 64-91.

บรรจง บุรินประโคน. (2561). ตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พุทธทาสภิกขุ. (2564). พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. https://www.pagoda.or.th/general-knowledge/2021-08-19-09-24-41.html

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. ณ เพชร สำนักพิมพ์.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2538). บ้านแม่น้ำ. คมบาง.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2547ก). พันฝน เพลงน้ำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). หวีกล้วย.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2547ข). แม่น้ำรำลึก (พิมพ์ครั้งที่ 4). รูปจันทร์.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2555). แม่น้ำเดียวกัน. ในดวงใจ.

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. (2559). แม่น้ำที่สาบสูญ. ในดวงใจ.

วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล. (2550). มโนทัศน์เรื่องนิพพานในกวีนิพนธ์ The Light of Asia ของเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์. วารสารมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(2), 74-84.

อุบลนภา อินพลอย. (2551). การถวิลหาอดีตในวรรณกรรมของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.