ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาที่ผลิตหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ส่วนใหญ่เริ่มมีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในหนังสือเรียนสุขศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลศึกษาพบกลวิธีการนำเสนอภาพตัวแทน ได้แก่ การใช้คำอ้างถึง การใช้คำที่ปรากฏร่วมกัน การใช้มูลบท การใช้โครงสร้างประโยค การใช้สหบท และการใช้วัจนกรรม กลวิธีเหล่านี้นำเสนอภาพตัวแทนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งภาพตัวแทนที่พึงประสงค์ ได้แก่ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้ปกติและเท่าเทียมกับเพศสภาวะอื่นมากขึ้น และภาพตัวแทนที่ไม่พึงประสงค์ที่โดดเด่น ได้แก่ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศยังถูกจำกัดโอกาสหรือสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นผู้ถูกกระทำ และเป็น “คนอื่น” ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความคิดเดิมในสังคม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการปรากฏการนำเสนอกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสื่อสาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าหนังสือเรียนจะมีการนำเสนอเกี่ยวกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ก็ยังปรากฏภาพตัวแทนที่สื่ออคติด้านลบ และอาจนำไปสู่การผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สุขศึกษาและพลศึกษา. สกสค.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557ก). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สุขศึกษาและพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สกสค.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557ข). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สุขศึกษาและพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกสค.
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (9 มิถุนายน 2565). ซีรีส์วายกับช่องว่างในการขับเคลื่อนความหลากหลายทางเพศ. https://www.thaimediafund.or.th/20220609-2/
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อและวัฒนธรรมศึกษากับสังคมไทย. รัฐศาสตร์สาร, 23, 50-97.
กิตติ ปรมัตถผล, ปรีชา ไวยโภคา, กำไลทิพย์ ระน้อย, ศิริรัตน์ สีเหลือง, วิชาญ มะวิญธร, และ ประภาพร พหุโล. (2562ก). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. เอมพันธ์.
กิตติ ปรมัตถผล, ปรีชา ไวยโภคา, กำไลทิพย์ ระน้อย, ศิริรัตน์ สีเหลือง, วิชาญ มะวิญธร, และ ประภาพร พหุโล. (2562ข). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เอมพันธ์.
คชาธิป พาณิชตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ว่าด้วยชายรักชายในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ปีพ.ศ. 2555: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
ชีรา ทองกระจาย. (2565). ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ. https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-8.pdf
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ บุษบกแก้ว. (2553). กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของตนเองโดยกลุ่ม “เกย์ออนไลน์”. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
พรสุข หุ่นนิรันดร์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, และ อนันต์ มาลารัตน์. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 16). อักษรเจริญทัศน์ อจท.
พรสุข หุ่นนิรันดร์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, และ อนันต์ มาลารัตน์. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 12). อักษรเจริญทัศน์ อจท.
พรสุข หุ่นนิรันดร์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, และ อนันต์ มาลารัตน์. (2564). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 15). อักษรเจริญทัศน์ อจท.
ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์. (2559). ผู้หญิงในมิติประวัติศาสตร์เพศสภาวะ. ใน พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บรรณาธิการ), พลังผู้หญิง แม่เมีย และเทพสตรี: ความจริง และภาพแทน (น. 296-312). สำนักงานพระพุทธศาสนา.
ภัทริยา แรมวัลย์. (2563). เพศวิถีในหนังสือแบบเรียน กรณีศึกษา หนังสือเรียนวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. ThaiLIS.
วิจิตร ว่องวารีทิพย์. (2559). ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย. มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ.
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2559). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเป็นชาย-ความเป็นหญิงในหนังสือชุด “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”. รมยสาร, 14(3), 27-34.
วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชา ภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, หัทยา จันทรมังกร, และ ศตนันต์ เปียงบุญทา. (2547). รายงานการวิจัย เรื่องหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กของไทยที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวรรณกรรมและวาทกรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://archive.lib.cmu.ac.th/full/res/2547/tressh510078_47_full.pdf
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทาง การนำมาศึกษาภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหมาย แตงสกุล, เชาวลิต ภูมิภาค, และ กัลยภัฏร์ ศรีไพโรจน์. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
สำนักงานราชกิจจานุเบกษา. (2558). พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/18/17.PDF
อำนาจ มงคลสืบสกุล. (2561). สิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มกุฎราชกุมาร. 1(1), 69-80.
อุทัย สงวนพงษ์ และ สุณัฎฐา สงวนพงศ์. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
อุทัย สงวนพงษ์. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
อุมาวัลย์ ชีช้าง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าสำหรับเด็กในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2523 - 2553 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).
Fairclough, N. (1995a). Critical discourse analysis: the critical study of language. Longman.
Fairclough, N. (1995b). Media discourse. Arnold.
Hall, S. (2003). Representation: Cultural representations and signifying practice. SAGE.
Panpothong, N. (2015). Thai primary school history textbooks: A textually-oriented critical discourse analysis. Journal of Language and Linguistics, 34(1), 66-93.
van Dijk, T. A. (2003). Critical discourse analysis. In D. Schiffin (Eds.), The handbook of discourse analysis. (pp. 352-371). Blackwell.