จามเทวีวงศ์: ความผสมผสานระหว่างเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าเชิงพุทธศาสนา

Main Article Content

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

บทคัดย่อ

จามเทวีวงศ์ คือคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและจัดเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ประเภทพงศาวดาร ผสมผสานระหว่างเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าเชิงพุทธศาสนา เช่น พุทธพยากรณ์การเกิดนครใหญ่ในอนาคต ซึ่งต่อมาคือกรุงหริภุญไชยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน รวมถึงเป็นวรรณกรรมที่เล่าถึงความเป็นมาของกรุงหริภุญไชย นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยพระเจ้าอาทิตยราชพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในพุทธพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า แม้ในคัมภีร์จะยกย่องพระเจ้าอาทิตยราช หากก็ให้ความสำคัญต่อบทบาทของพระนางจามเทวีในฐานะปฐมกษัตริย์แห่งกรุงหริภุญไชยด้วยเช่นกัน โดยสะท้อนด้านการส่งเสริมพุทธศาสนาของกรุงหริภุญไชยให้รุ่งเรือง สมกับเป็นนครที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เรื่องราวการเสด็จยังเมืองโบราณของพระพุทธเจ้าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักเป็นที่กล่าวอ้างในตำนานและประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณทั้งหลาย แม้ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่น เช่นอรรถกถา ปกรณ์วิเสส และฎีกา แต่กลับพบในคัมภีร์พุทธศาสนาที่แต่งหรือรจนาขึ้นบริเวณเมืองโบราณ


การศึกษาจามเทวีวงศ์ จึงถ่ายทอดทรรศนะของคนสมัยโบราณที่อ้างการเสด็จประพาสนครของพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยส่งเสริมความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงสนับสนุนอำนาจของชนชั้นสูงหรือผู้ปกครองเพื่อให้ชนชั้นล่างหรือผู้ถูกปกครองยอมรับ นอกจากนี้ยังแฝงหลักธรรมในพุทธศาสนาไว้ คือ เรื่องการเป็นคนดีเช่น บทบาทของกษัตริย์ในฐานะผู้ปกครอง และบทบาทของประชาชนในฐานะผู้มีความกตัญญูต่อบุพการี รวมทั้งการคบหากัลยาณมิตร ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งของการประพันธ์คัมภีร์นี้ขึ้นมา

Article Details

How to Cite
ผ่องสวัสดิ์ ช. (2015). จามเทวีวงศ์: ความผสมผสานระหว่างเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าเชิงพุทธศาสนา. วรรณวิทัศน์, 15, 52–80. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.3
บท
บทความประจำฉบับ

References

กรมศิลปากร. (2519). ตํานานมูลศาสนา. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์แด่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 17 ธันวาคม 2518).

คอสมอส. (2544). ตํานานสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: ไพลิน.

ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2519). ประชุมนิพนธ์เกี่ยวกับตํานานทางพระพุทธศาสนา. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์แด่พระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัดพระพิเรนท์ 21 มีนาคม 2514).

บรรจบ บรรณรุจิ. (2539). ภิกษุณีพุทธสาวิกาครั้งพุทธกาล. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2554). ไขคําแก้วคําแพงพินิจวรรณกรรมไทย-ไท. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระโพธิรังสี. (2554). เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย ทั้งภาษาบาลีและคําแปล (พระยาปริยัติธรรมธาดา และ พระญาณวิชิตร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน, (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรัสวดี อ่องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). วรรณกรรมมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2529). วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย: จารึก ตํานานพงศาวดาร สาส์น ประกาศ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

แสง มนวิทูร. (2510). ชินกาลมาลีปกรณ์. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์แด่นายกีนิมมาเหมินท์เนื่องในวันเปิดตึกคนไข้พิเศษ “นิมมานเหมินท์-ชุติมา” โรงพยาบาลเชียงใหม่ 12 พฤษภาคม 2510).

ชลดา โกพัฒตา. (มกราคม–มิถุนายน 2556). “คติความเชื่ออดีตพระพุทธเจ้าในสังคมไทยพุทธศตวรรษที่ 20-24”. วารสารศิลปศาสตร์, 13: 1, 77–103.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2542). “พระพุทธเจ้าในตํานานและนิทานพื้นบ้านไทย-ไท”. ในปริทรรศน์วรรณกรรมพุทธศาสนา (1–26). (เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ รองศาสตราจารย์ ดร. ประคอง นิมมานเหมินท์).

สดุภณ จังกาจิตต์. (2518). “จามเทวีวงศ์”. วารสารอักษรศาสตร์, 9, 117–127.

ไอแสค อาศิระ. (2557). “เบื้องหลังพระศิวะ ตอนที่ 6 พระมุรุกัน”. ต่วย’ตูน ฉบับพิเศษ, 40: 476, 68–72.

ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. สัมภาษณ์, 21 มกราคม 2558.