โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน: จากบันทึกประวัติศาสตร์สู่การสร้างสรรค์วรรณกรรมยอพระเกียรติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนซึ่งเป็นวรรณกรรมยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านแนวคิดการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนมาจากสำเนาจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 3 แต่ทรงพระนิพนธ์เพิ่มเติมส่วนที่เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์รวมทั้งรายนามผู้ร่วมปฏิสังขรณ์และผู้ร่วมสร้างจารึก
แม้ว่าโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเป็นวรรณกรรมยอพระเกียรติที่มีการสืบทอดแนวคิดการแต่งมาจากวรรณกรรมยอพระเกียรติในสมัยก่อนหน้านั้นโดยเฉพาะยวนพ่ายโคลงดั้น แต่โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนก็เป็นวรรณกรรมยอพระเกียรติที่มีความพิเศษต่างกับวรรณกรรมยอพระเกียรติเรื่องอื่นๆ คือ การใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นร้อยแก้วมาเขียนเป็นวรรณกรรมร้อยกรองและแต่งด้วยโคลงและร่ายหลายแบบรวมถึงการใช้กลบทหลายชนิด จึงทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นได้ทั้งวรรณกรรมยอพระเกียรติ วรรณกรรมที่บันทึกเหตุการณ์และวรรณกรรมที่แสดงแบบแผนการประพันธ์
Article Details
References
กาญจนาธรรมเมธี. (2519). วิเคราะห์วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325–2411). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จินดามณีเล่ม 1–2 บันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ. (2544). กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
ดนัยไชยโยธา. (2548). พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2511). พระนคร: จัดพิมพ์ในงานฉลองวันพระบรมราชสมภพ 200 ปี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า. (2554). โคลงดั้นสรรเสริญพระเกียรดิปฏิสังขรณะวัดพระเชตุพน, ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 7) (307–370). กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองจารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจําแห่งโลกวันที่ 24 ธันวาคม – 2 มกราคม 2554).
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2548). ธรรมรัฐ – ธรรมราชา. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล. (2556). ยวนพ่ายโคลงดั้น: ความสําคัญที่มีต่อขนบและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน.
พระราชวาที. (2554). คําจาฤกที่มิได้จาฤกในวัดพระเชตุพน. ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 7) (49–53). กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองจารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจําแห่งโลกวันที่ 24 ธันวาคม – 2 มกราคม 2554).
ยุพร แสงทักษิณ.(2537). วรรณคดียอพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยอยุธยาโคลงยวนพ่าย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทยภาคฉันทลักษณ์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วรางคณา ศรีกําเหนิด. (2543). สุนทรียภาพในคําประพันธ์กลบทในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (2530). วรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (2531). วรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สมใจ โพธิ์เขียว. (2550). การศึกษาวิเคราะห์โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วรรณคดีไทย) สาขาวรรณคดีไทย ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สําเนาจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ 3. (2554). ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 7) (60–70). กรุงเทพฯ: คณะสงฆวัดพระเชตุพน. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองจารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจําแห่งโลก วันที่ 24 ธันวาคม – 2 มกราคม 2554).
เสาวณิต วิงวอน. (2530). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมยอพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณิต วิงวอน. (2540). วิเคราะห์พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพฯ: คณะวัดพระเชตุพนพิมพ์ประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส 9–10–11 ธันวาคม 2540.