“จฺบาบ่เผฺสงๆ”: มิติหญิงชายในวรรณกรรมคำสอนเขมร

Main Article Content

เยาวลักษณ์ อยู่เจริญสุข

บทคัดย่อ

การศึกษามิติชายหญิงใน “จฺบาบ่เผฺสงๆ ” ចបោប់ផសងៗ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความไม่เสมอภาคระหว่างเพศของสังคมเขมรจากวรรณกรรมคำสอนจำนวน 13 เรื่อง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในสังคมเขมรผู้หญิงเป็นเพศที่ดูเสมือนมีความสำคัญในสังคมไม่น้อยไปกว่าเพศชาย แต่ในความเป็นจริงบทบาทและสถานภาพของผู้หญิงเขมรล้วนมีภาระหน้าที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้ผู้ชายแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้หญิงในบทบาทภรรยาซึ่งมีสถานภาพทางสังคมที่ตํ่าต้อยกว่าผู้ชายมาก ทั้งนี้เนื่องจากในสังคมเขมรใช้แนวคิดเรื่อง “สตรีครบลักษณ์” โดยอาศัยวรรณกรรมคำสอนที่เรียกว่า “จฺบาบ่” มาเป็น “กรอบ” เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้หญิงให้ต้องดำเนินชีวิตอยู่ในแนวทางที่สังคมกำหนดขึ้น หากไม่ทำตามก็จะถูกสังคมลงโทษ ผู้หญิงจึงถูกควบคุมทั้งในเรื่องส่วนตัวและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น อีกทั้งยังถูกจำกัดขอบเขตอำนาจและพื้นที่ในการดำเนินชีวิต และหากผู้หญิงจะได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำหน้าที่ ผู้หญิงก็จะได้รับเพียงคำยกย่องที่ถือเป็นเกียรติอันประเสริฐซึ่งเป็นเพียงนามธรรมจับต้องไม่ได้ ในขณะที่ผู้ชายจะได้รับรางวัลเป็นความก้าวหน้าในชีวิต ความมียศศักดิ์ซึ่งเป็นรูปธรรมที่เห็นผลชัดเจนได้ในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ยํ้าให้เห็นความความแตกต่างและไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในสังคมเขมร นอกจากนี้ความเหลื่อมลํ้าแตกต่างนั้นอาจกลายเป็นความแตกต่างทางโครงสร้างของสังคมที่ส่งผลให้ผู้ชายมีอำนาจและใช้อำนาจควบคุมจัดการกับผู้หญิงอันนำไปสู่ความไม่เสมอภาคทางเพศขึ้นได้ในภายภาคหน้า

Article Details

How to Cite
อยู่เจริญสุข เ. (2016). “จฺบาบ่เผฺสงๆ”: มิติหญิงชายในวรรณกรรมคำสอนเขมร. วรรณวิทัศน์, 15, 77–121. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.9
บท
บทความประจำฉบับ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2535). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แชนด์เลอร์, เดวิด. (2540). ประวัติศาสตร์กัมพูชา. (พรรณงาม เง่าธรรมสาร, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บรรจบ พันธุเมธา. (2525). พจนานุกรมเขมร-ไทยเล่ม 1–5. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

ประยูร ทรงศิลป์. (2553). วรรณกรรมคําสอนเขมร. โครงการผลงานวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ปราณี วงษ์เทศ. (2549). เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

พัทยา สายหู. (2546). กลไกของสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2549). มิติหญิงชายในงานสวัสดิการสังคม (Gender in Social Welfare). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพฑูรย์ เครือแก้ว. (2506). ลักษณะสังคมไทยและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การพิมพ์เกื้อกูล.

ภัสสร สิมานนท์. (2542). บทบาทเพศสถานภาพสตรีกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ อยู่เจริญสุข. (พฤศจิกายน 2549). ฉบับสอนสตรี: มุมมองเกี่ยวกับบทบาทและฐานะทางสังคมของสตรีเขมร. ในวรรณวิทัศน์ฉบับนัยแห่งความแตกต่าง, 6, 265-292.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จํากัด.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยมขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ศานติ ภักดีคํา. (2556). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบประชุมสุภาษิตเขมรฉบับหอพระสมุดวชิรญาณกับฉบับของกัมพูชา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เอกสารอัดสําเนา).

ศิริมา เจนจิตหมั่น. (2528). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคําสอนประเภทกลอนเพลงยาวในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2555). คู่มือการจัดการภัยพิบัติ: มุมมองมิติหญิงชาย. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.

อุบล เทศทอง. (2548). ภาษิตเขมร: วิถีชีวิตและโลกทัศน์ชาวเขมร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเขมรศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คิน–ณน. (1991). กฺรมํจูลมฺลบ่. พิธีเรีสสฺรกร. ภฺนํเพญ: โรงพุมฺณุบบูผาน่.

ฆีงหุกฑี. (1977). ทิฎฐภาพทูเทาไนอกฺสรสาสฺตฺรแขฺมร. Paris: L’Harmattan.

ฆีงหุกฑี. (2003). มาลีบทอกฺสรสิลฺป์แขฺมรสตวสฺสที 20. ภฺนํเพญ: บณฺณาคารองฺคร.

งวน ญิล. (2548). จิตวิญญาณมารดาธิปไตยในสังคมเขมร (ภูมิจิต เรืองเดช, ผู้แปล). บุรีรัมย์: โครงการศึกษาความสัมพันธ์ทางไทย-กัมพูชา.

พฺรวจ – ภุม. (กกฺกฎา – สีหา – กญญา 1999). ลกฺขณ์รบส่บุรุสสฺตฺรี. กมฺพุชสุริย, 52–55.

พุทฺธสาสนบณฺฑิตฺย. (1995). จฺบาบ่เผฺสงๆ. (โบะพุมฺพเลีกที 5) ภฺนํเพญ: พุทฺธสาสนบณฺฑิตฺย.

พุทฺธสาสนบณฺฑิตฺย. (1967). วจนานุกฺรมแขฺมรภาคที่ 1–2. ภฺนํเพญ: พุทฺธสาสนบณฺฑิตฺย.

เมียจ – ปุณ. (ตุลา–วิจกา-ธฺนู 1994). การสิกฺสาสมัยบุราณ. ในกมฺพุชสุริยา 48, 3, 90–94.

สุง สีว. (1965). สุชีวธรรมประจําครอบครัว. ภฺนํเพญ: บณฺณาคารองฺคร.

อุม – สุม. (มกรา – กมฺภุะ – มีนา 1995). บญหาบวส. กมฺพุชสุริย, 27–31.

Ledgerwood, Judy. (1959). Changing Khmer Conception of Gender: Women Stories and the Social Order, (Unpublished PhD Dissertation): Cornell University.

Ledgerwood, Judy. (n.d.). Women in Cambodian Society. Retrieved December 16, 2014, from http://www.seasite.niu.deu/khmer/Ledgerwood/women.htmlRoss, Russell R. (1987). Cambodia: a country study. Washington: U.S.G.P.O.