จารึกวัดพระเชตุพนฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว: การสร้างงานที่ต่อเนื่องจากสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

Main Article Content

วรางคณา ศรีกำเหนิด

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเสนอมุมมองด้านเนื้อหาของจารึกวัดพระเชตุพนฯ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ พ.ศ.๒๓๗๔ การศึกษาครั้งนี้พบว่าเนื้อหาของจารึกวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความสอดคล้องกับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. ๒๓๓๑ และสอดคล้องกับงานวรรณคดีในสมัยนั้น และเนื้อหาวรรณคดีอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่มีการเขียนเพิ่มเติมเข้าไป ทำให้วัดพระเชตุพนฯ เป็นสถานที่เก็บวรรณคดีจำนวนมากในรูปแบบจารึก การสร้างจารึกวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และแสดงให้เห็นความสำคัญของวรรณคดีในแง่ศิลปะที่สัมพันธ์กับความรู้และพุทธศาสนาอันเป็นขนบที่มีมานานในสังคมไทย

Article Details

How to Cite
ศรีกำเหนิด ว. (2016). จารึกวัดพระเชตุพนฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว: การสร้างงานที่ต่อเนื่องจากสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. วรรณวิทัศน์, 13, 28–48. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2013.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า-เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์. (๒๕๓๗). กรุงเทพมหานคร: โครงการประสานงานพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร (ปพส.).

ธนอร อัศวงค์. (๒๕๔๓). แนวจริยปฏิบัติในงานวรรณศิลป์ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาภาษาไทย.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (๒๕๓๙). การฟื้นฟูอักษรศาสตร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.

บรรเจิด ศรีสุข. (๒๕๕๑). ภาพรามเกียรติ์ ศาลาทิศรอบหอไตร (พระมณฑป) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, วิทยาลัยเพาะช่าง, สาขาวิชาจิตรกรรมไทย.

ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. (๒๕๔๘). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. (๒๕๕๔). กรุงเทพมหานคร: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน.

ประทีป ชุมพล. (๒๕๕๐). เวชศาสตร์ฉบับหลวงกับการบูรณาการการแพทย์แผนไทย, ศึกษากรณีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๘). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์พริ้นติ้งแอนโปรดักส์.

พระราชวาที. (๒๕๕๔). คําาจาฤกที่มิได้จารึกในวัดพระเชตุพน. ใน จารึกวัดโพธิ์, มรดกความทรงจําาแห่งโลก (น.๒๘-๓๓). กรุงเทพมหานคร: วัดพระเชตุพน (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่จารึกวัดโพธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจําาแห่งโลกในระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และงานฉลองจารึกวัดโพธิ์, มรดกความทรงจำแห่งโลก วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔-๒ มกราคม ๒๕๕๕)

ยุวเรศ วุทธธีรพล. การสําารวจและจัดทําาทะเบียนจารึกวัดโพธิ์. ใน จารึกวัดโพธิ์, มรดกความทรงจําาแห่งโลก (น.๑๓๔-๑๔๙).กรุงเทพมหานคร: วัดพระเชตุพน (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่จารึกวัดโพธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจําาแห่งโลกในระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และงานฉลองจารึกวัดโพธิ์, มรดกความทรงจําาแห่งโลก วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔-๒ มกราคม ๒๕๕๕)

ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (๒๕๓๔). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑.กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

สยาม ภัทรานุประวัติ. (๒๕๕๔). “นิทานสิบสองเหลี่ยม, วรรณกรรมภูมิปัญญาไทยในบริบทความสัมพันธ์ไทย-อิหร่าน,”ใน ๑๐๐ เอกสารสำคัญ, สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทยลําาดับที่ ๙ (น.๕-๑๘๘). กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัย “๑๐๐ เอกสารสําาคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” ในความสนับสนุนของสําานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).