การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำนาม “ผม”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำนาม “ผม” กลายเป็นคำสรรพนาม (สรรพนามบุรุษที่ ๑) และส่วนของคำลงท้าย (ครับผม) โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๕๕๕) ที่ตีพิมพ์แล้ว
ผลการศึกษาพบว่าเริ่มแรกคำว่า “ผม” ปรากฏใช้เป็นคำนาม ต่อมาคำนาม “ผม” ได้เกิดการขยายหน้าที่เป็นหมวดคำสรรพนามในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ และคำนามก็ได้ขยายหน้าที่เป็นส่วนของคำลงท้าย “ครับผม” ในสมัยรัชกาลที่ ๖-๘ โดยอาศัยปัจจัยทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางภาษา (ปัจจัยนามนัย)
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคำสรรพนาม “ผม” กลายมาจากคำนามโดยผ่านกระบวนการต่างๆ ๓ กระบวนการด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการแยก กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม และกระบวนการทำให้มีความหมายทั่วไป และส่วนของคำลงท้าย “ครับผม” กลายมาจากคำนามโดยผ่านกระบวนการหลอมรวม
Article Details
References
กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ). (๒๕๔๕). ราชาศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.
นววรรณ พันธุเมธา. (๒๕๕๑).ไวยากรณ์ไทย(พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทริยา ลำเจียกเทศ. (๒๕๓๙). คำไวยากรณ์ที่กลายมาจากคำนามเรียกอวัยวะและส่วนของพืชในภาษาไทยล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.
ปัลเลอร์กัวซ์, สังฆราช. (๒๕๕๐). GRAMMATICA LINGUAE THAI. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
วราภรณ์ แสงสด. (๒๕๓๒). บุรุษสรรพนามในภาษาไทย: การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.
วัลยา ช้างขวัญยืน, และคณะ. (๒๕๕๓). คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. ใน บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สถาบันภาษาไทย.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (๒๕๓๘). โครงสร้างภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิริพร หฤทัยวิญญู. (๒๕๔๕). การศึกษาระบบบุรุษสรรพนามภาษาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ในแนวเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (๒๕๕๑). “ยัง”: การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (๒๕๔๔). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๑๐). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
Diller, Anthony. (1994). Grammaticalization and Tai syntactic change. In M.R.Kalaya Tingsabadhand A. Abramson (Eds.), Essay in Tai linguistics, pp.1-34. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Hopper, Paul J. and Traugott, E. (1993, 2003). Grammaticalization. Cambridge: Cambridge University Press.