ผู้ชายสมบูรณ์แบบ: ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์ความเป็นชายกับกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมโฆษณาในนิตยสารผู้ชาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์ความเป็นชายกับกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโฆษณาจากนิตยสารผู้ชายจำนวน 4 รายชื่อ ได้แก่ GM, FHM, Men's health และ Crush ที่วางจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี พ.ศ. 2552
ผลการวิจัยพบว่า วาทกรรมโฆษณาใช้กลวิธีทางภาษาเเพื่อประกอบสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาย ได้แก่ ผู้ชายต้องมีรูปลักษณ์ที่ดูดีอย่างไม่มีที่ติ ผู้ชายต้องมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ ผู้ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษ และเรื่องเพศเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้ชาย ทั้งนี้วาทกรรมโฆษณายังนำเสนอว่า สินค้าและบริการเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้ผู้ชายเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์แบบได้
Article Details
References
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์, และธีรนุช โชคสุวณิช. (๒๕๕๑). วัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (๒๕๔๘). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.
กำจร หลุยยะพงศ์. (๒๕๓๙). การวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอภาพของความเป็นชายในโฆษณาเบียร์สิงห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน.
จันทิมา เอียมานนท์. (๒๕๔๙). การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.
รัชนินท์ พงศ์อุดม. (๒๕๔๘). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับค่านิยมเกี่ยวกับความงาม: การศึกษาวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.
วิษณุ บุญมารัตน์. (๒๕๕๒). ชายในอุดมคติของผู้หญิงไทย. บทความเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๔, จาก http://www.uniservbuu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2797
ศิริพร ภักดีผาสุข. (๒๕๕๓). โครงการวาทกรรม "ความเป็นผู้หญิง" ในนิตยสารสุขภาพและความงามภาษาไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.
Fairclough, N. (1992). Discourse and Social Change. Cambridge: Polity Press.
Fairclough, N. (1995). Media Discourse. London: Edward Arnold.
Kovecses, Z. (2002). Metaphor: A practical introduction, Oxford: Oxford University Press.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago and London: The University of Chicago Press.
Levinson, S. (1983). Pragmatics. Cambridge: Cambridge University Press.
Van Dijk, T.A. (1995). Discourse Semantics and Ideology. Discourse and Society, 6(2), 243-289.
Van Dijk, T.A. (2001). Critical Discourse Analysis. In Schiffrin, D., Tannen, D., & Hamilton, E.H. (Eds.). The Handbook of Discourse Analysis. pp. 352-371. Malden MA: Blackwell publishing.