หนังตะลุงเมืองเพชร: การศึกษาเชิงบทบาทหน้าที่

Main Article Content

สมบัติ สมศรีพลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่การแสดงหนังตะลุงเมืองเพชรทั้งสายหนังในและหนังนอก  จากบทพากย์ บทเจรจา และบริบทการแสดงบางส่วนของการแสดงหนังตะลุงเมืองเพชร จำนวน 4 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ตอนศึกไมยราพณ์ รามเกียรติ์ตอนศึกทัพนาสูร เกราะสุวรรณ และดวงใจแม่ โดยใช้ทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยม (Functionalism) เป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า บทบาทหน้าที่การแสดงหนังตะลุงเมืองเพชรแบ่งออกเป็น5 ด้าน ดังนี้  1) บทบาทหน้าที่อธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม การแสดงหนังตะลุงเมืองเพชรเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม มีแบบแผนการแสดงที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจนในการแก้บน มีบทพากย์ที่ร้องเชิญเจ้าพ่อให้มาชมหนังตะลุงที่เจ้าภาพได้จ้างมาเล่นถวายเพื่อให้หลุดสินบาดขาดสินบน  2) บทบาทหน้าที่ให้การศึกษาในสังคมที่ใช้ประเพณีบอกเล่า คือ ให้ความรู้ ถ่ายทอดวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  ปลูกฝังทัศนคติ ผ่านการกลั่นกรองจากภูมิปัญญาและประสบการณ์ของนายหนังตะลุง  3) บทบาทหน้าที่รักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคม โดยสอดแทรกเนื้อหาสาระสำคัญเพื่อให้สมาชิกในสังคมนั้น ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบของสังคม ค่านิยมที่สังคมเห็นว่าดี ทัศนคติที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี  ตลอดจนบรรทัดฐานทางพฤติกรรมและจริยธรรมของสังคม 4) บทบาทหน้าที่ให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคลในเรื่องเพศ การบ้านการเมือง และการเคารพผู้อาวุโส5) บทบาทหน้าที่สื่อประชาสัมพันธ์แก่ชุมชนโดยนำเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่นและระดับชาติ มาสื่อสารเพื่อเสนอให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบ

Article Details

How to Cite
สมศรีพลอย ส. (2016). หนังตะลุงเมืองเพชร: การศึกษาเชิงบทบาทหน้าที่. วรรณวิทัศน์, 16, 76–100. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2016.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

ชวน เพชรแก้ว. (2523). บทอัศจรรย์ (บทสมห้อง)ของหนังตะลุง. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.

ชวน เพชรแก้ว. (2548). หนังตะลุงในประเทศไทย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ทรงฤทธิ์ ศรีสารคาม. (2555). หนังตะลุงแก้บนในจังหวัดเพชรบุรี: กรณีศึกษา คณะ ว. รวมศิลป์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวัฒนธรรมศึกษา.

ทิพยา ปัญญาวัฒชิโล. (2537). การละเล่นพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: สหวิทยาลัยทวารวดี เพชรบุรี.

พิทยา บุษรารัตน์. (2553). นาฏกรรมแห่งลุ่มทะเลสาบสงขลา การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมของหนังตะลุงและโนรา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ไพโรจน์ ทองวั่น. (2553). หนังตะลุง. ม.ป.ท. (ศิลปนิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาศิลปไทย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ สมศรีพลอย. (2559). หนังตะลุงเมืองเพชร: สายครูและการสืบทอดการแสดง. ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาการการจัดการ, การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 6 หัวข้อ อัตลักษณ์แห่งเอเชีย วันที่ 17 มิถุนายน 2559 (น. 207-239). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สวพร จันทรสกุล. (2554). วิเคราะห์บทปรายหน้าบทหนังตะลุง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาไทย.

สัมฤทธิ์ อิทฺธิญาโณ, พระมหา. (2550). จริยธรรมที่ปรากฏในหนังตะลุงอีสาน: กรณีศึกษา บ้านสระแก้ว ตําบลบ้านฝาง อําเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุกัญญา ภัทราชัย. (2540). เพลงปฏิพากย์: บทเพลงแห่งปฏิภาณของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอนก นาวิกมูล. (2547). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 13 การผลิตสื่อและการใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bascom, William. (1965). Four Function of Folklore. The Journal of American Folklore. 67, 333-349.

Hemmet, Christine. (1996). Nang Talung The shadow theatre of South Thailand. Amsterdam: KIT/Tropenmuseum.

คณะ ก.บรรเลงศิลป์, 13 เม.ย. 59, วัดบ้านขลู่ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี.

คณะลูกพ่อป่วน ชัยนาท เชิดชําานาญ, 17 เม.ย. 59, วัดใหญ่สุวรรณาราม อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี.

คณะ ว.รวมศิลป์, 14 เม.ย. 59, บ้านละหารน้อย อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.

คณะศิษย์ลูกเต่า มหาฟลุ๊ค ลูกเพชร, 12 เม.ย. 59, วัดบ้านขลู่ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี.