ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง, ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวัยรุ่นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวัยรุ่น พื้นที่การศึกษา คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยผลการวิจัยพบว่า 1. (1) พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองมีความแตกต่างกันตาม เพศ อายุ การศึกษา (2) การตัดสินใจชำระผ่านบัตรเครดิตมีความแตกต่างกันตามระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ (3) การตัดสินใจชำระแบบเรียกเก็บเงินปลายทางมีความแตกต่างกันตามเพศ (4) การตัดสินใจชำระแบบผ่านบัญชีธนาคารมีความแตกต่างกันตามเพศและอายุ (5) การตัดสินใจชำระแบบผ่านโทรศัพท์มือถือมีความแตกต่างกันตามเพศ และ (6) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อแต่ละครั้งมีความแตกต่างกันตาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. (1) ประเภทและยี่ห้อ การจัดจำหน่าย และสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง (2) สิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระผ่านบัตรเครดิต (3) การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระแบบเรียกเก็บเงินปลายทาง (4) การจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระผ่านบัญชีธนาคาร และ(5) ความน่าเชื่อถือของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่ (6) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดไม่มีอิทธิผลต่อค่าเฉลี่ยในการซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และสุกัญญา พยุงสิน. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับลูกค้าบุคคลทั่วไปผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 13(2), 80-91 .
เกษรา บ่าวแช่มช้อย. (2554). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
คุลิกา วัฒนสุวกุล. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อความพึงพอใจ และความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้า กรณีศึกษาแผนกขายยาของร้านวัตสัน. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ. (2554). กลยุทธ์สื่อสารการตลาดแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: บริษัททิปปิ้ง พอยท์.
ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
พิพัฒน์ จงตระกูล. (2545). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านอินเตอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, การจัดการการตลาด, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).
ภัทราวดี กุฏีศรี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องสำอางผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
นิมิตร ไชยวงศ์. (2559). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะของผู้บริโภคจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 95-115
รุ่งรวี ปะกิระถา และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2560). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การรับรู้คุณภาพบริการและการรับรู้ประโยชน์ของผู้บริโภคที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 42-59.
วรรณา วันหมัด. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจ ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 132-141.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2559). กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นใน https://th.wikipedia.org/wiki/กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วันที่สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2560.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานครฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
เสาลักษณ์ สมานพิทักษ์วงค์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบ อินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley.
Jotikasthira, C., & Onputtha, S. (2018). Factors Associating with Purchasing Decision of Gems and Jewelry and Possible Implication of Online Marketing to Empowering Entrepreneur's Sale Performance. International Journal of Applied Computer Technology and Information Systems, 7(2), 47-55
Wasan Kantvorarat. (2016).Factors Relevant to Tourists’ Buying Decision on Pottery Souvenirs at Koh Kret of Nonthaburi Province. Journal of Cultural Approach, 17(31), 31-40
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ