เงินดิจิทัลกับเสรีภาพทางการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

เงินดิจิทัล, นวัตกรรมทางเทคโนโลยี, ความผันผวนของราคา, ความปลอดภัยของระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยในเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ของเงินดิจิทัล และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เงินดิจิทัลในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารทั้งหมด 20 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปผลการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มของเงินดิจิทัล ในประเทศไทยจะได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ผู้บริหารให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดร้อยละ 85 และไม่เห็นด้วย เพียงร้อยละ 15 โดยมีสาเหตุดังนี้ ประการแรก เกิดจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Blockchain ที่มีความล้ำสมัยมากที่นำไปสู่นวัตกรรมทางการบริหารจัดการทางการเงินในแนวใหม่ ประการที่สอง เพราะระบบธนาคารไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการทางการเงินในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม ระบบการดำเนินงานของธนาคารมีการบริหารแบบรวมศูนย์ ประการที่สี่ เพราะค่าความผันผวนของค่าเงินแต่ละสกุล ประการที่ห้า เพราะความต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับที่จะใช้เงินดิจิทัลในประเทศไทย คือ ความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกเหรียญ ความผันผวนของราคา ผลตอบแทนของการถือครอง และความปลอดภัยของระบบ

References

กองบรรณาธิการฮอตนิวส์. (2561). “คริปโตเคอเรนซี” คืออะไร. ฮอตนิวส์. สืบค้นจาก http://www.siambusinessnews.com/7708

ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2558). ธปท.เตือนระวังเงินบิทคอยน์ ชี้ไร้กฎหมายคุ้มครอง-รองรับมีสิทธิ์สูญเอาง่าย ๆ สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/410838

ไพฑูรย์ ไพรรอ. (2560). ทำไมแนวโน้มในระยะกลางของราคา Bitcoin จึงขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สืบค้นจาก https://www.gawao.com/แนวโน้ม-bitcoin/

ภาสกร ใหลสกุล. (2016). Bitcoin: Digital Currency สกุลเงินพลิกโลก. สืบค้นจาก https://tednet.wordpress.com/2016/07/02/bitcoin-digital-currency-สกุลเงินพลิกโลก/)

อธิญชัย วีรดุษฎีนนท์. (2561). ‘สกุลเงินดิจิทัล’ มูลค่าแท้จริงอยู่ที่ความเชื่อมั่น. สืบค้นจาก https://themomentum.co/cryptocurrency-bitcoin-feature/)

Armendariz, B., & Murdoch, J. (2010). The Economics of Microfinance, Second Edition. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.

Banerjee, A., & Esther, D. (2005). Growth Theory through the Lens of Development Economics. Handbook of Economic Growth, 1A.

Beam. (2018). Crypto currency คืออะไร. Retrieved from https://siamblockchain.com/2018/03/11/cryptocurrency-คืออะไร/

Beam. (2017). Bitcoin และเครือข่ายแบบกระจายคืออนาคตของโลก กล่าวโดยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย. Retrieved from https://siamBlockchain.com/2017/07/06/university-professor-money-systems-are-in-the-phase-of-decentralization/)

Coinmarketcap. (2020). Coinmarketcap. Retrieved from www.coinmarketcap.com/

Cryptothailand. (2020). อีเธอเรียมและสกุลเงินอีเธอร์. Retrieved from https://www.youtube.com/channel/UCDy6viWzKedPB9_oPIn0RsQ

King, R. G., & Levine, R. (1993). Finance, Entrepreneurship and Growth: Theory and Evidence. Journal of Monetary Economics, 32, 513–542.

Ledgerwood, J. (2000). Microfinance Handbook: Am Institutional and Financial Perspective. The Worldbank: Washington, D. C.

Morduch, J. (1998). Poverty, growth, and average exit time. Economics Letters, 59, 385-390.

Ruthven, Orlanda. (2001). Money Mosaics: Financial Choice and Strategy in a West Delhi Squatter Settlement. University of Manchester Institute for Development Policy and Management, Finance and Development Research Programme Paper 32.

Yessi Bello. (2018). Only 2.3% of Americans in survey trust Bitcoin Transfer Overseas. Retrieved from https://www.coindesk.com/only-2-3-of-americans-in-survey-trust-bitcoin-transfers-overseas/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31