ผลกระทบของภาวะผู้ตามในฐานะตัวแปรคั่นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและประสิทธิภาพทีมงาน: กรณีศึกษาของพนักงานซูเปอร์มาเก็ต

ผู้แต่ง

  • ชาลินี ปลูกผลงาม คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • ธนัชญกร ชิณวงค์ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท โปรโนวา แลบบอราทอรีส์
  • พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ , ภาวะผู้ตาม , ประสิทธิภาพของทีมงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามในบทบาทตัวแปรคั่นกลางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและประสิทธิภาพของทีมงาน ซึ่งทำการศึกษากับพนักงานในธุรกิจซูเปอร์มาเก็ต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 365 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองโครงสร้างภาวะผู้นำและผู้ตามที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของทีมงานของพนักงานในธุรกิจซูเปอร์มาเก็ต มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square/df มีค่าเท่ากับ 2.491 GFI มีค่าเท่ากับ 0.973 AGFI มีค่าเท่ากับ 0.929 CFI มีค่าเท่ากับ 0.973 NFI มีค่าเท่ากับ 0.965 และ RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.064 และพบว่า ภาวะผู้นำและผู้ตามส่งผลต่อประสิทธิภาพทีมงานของพนักงานในธุรกิจซูเปอร์มาเก็ต และผลการศึกษายืนยันว่าภาวะผู้ตามมีบทบาทในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและประสิทธิภาพของทีมงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 92

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

กิตติทัช เชียวฉะอ้อน และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-370.

กุลตรียา ไชยพร และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม และอิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ. วารสารการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(1), 50-64.

ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์. (2551). ภาวะผู้นำ (Leadership). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 20(3), 162-164.

ปารวี สยัดพานิช. (2562). การสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพงานจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล.

ปิยะนันท์ สวัสดิศฤงฆาร. (2564). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมในองค์กร. สืบค้นจาก http://thachang-nyk.go.th/UserFiles/File/041158/Kunatum.pdf

ผกาทิพย์ บัวพงษ์ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 179-194.

มณฑิรา อินจ่าย และเฉลิมชัย ปัญญาดี. (2013). ภาวะผู้ตามในผู้นำ: พหุกรณีศึกษาจากผู้บริหารสมรรถนะสูงขององค์การธุรกิจไทย. วารสารวิทยาลัยนเรศวร, (Special Issue), 47-58.

มัญชุภา สิงห์สุขสวัสดิ์. (2564). Future skills ทักษะแห่งอนาคตหลังยุคโควิด. กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด

วชรวิช รามอินทรา. (2561). ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกภูธร “ปรับตัว เพื่ออยู่รอด”: กรณีศึกษาธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในภาคใต้. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย

สามารถ อัยกร, ประภัสสร ดาวะเศรษฐ์, สายป่าน จักษุจินดา และชาญชัย ศุภวิจิตรพันธุ์. (2560). บทบาทของผู้ตามในคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(1), 195-203.

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สระแก้ว. (2564). สร้างทีมงาน (Team Work) ให้มีศักยภาพเพื่อการทางานระบบทีม (Teamwork) ที่มีประสิทธิภาพ (เอกสารการบรรยาย). สระแก้ว : สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สระแก้ว.

สุรางคณา วายุภาพ. (2561). E-Commerce Trend 2562. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/app/webroot/content_files/13/files/20190131_Day3_CEO_V09.02.pdf

อภิวัฒน์ ปุญญฤทธิ์. (2564). Power Skills ทักษะทรงพลังแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : นิตยสาร FORBES THAILAND.

Blake, R. R., & Mouton, J. S. (1981). Management by grid principles or situationism: Which?. Group & Organization Studies, 6(4), 439-455.

Epitropaki, O., Kark, R., Mainemelis, C., & Lord, R. G. (2017). Leadership and followership identity processes: A multilevel review. The Leadership Quarterly, 28(1), 104-129.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. (7thed.), Prentice Hall.

Kelley, R. E. (1992). The power of followership. New York: Doubleday.

Parker, G. M. (1990). Team players and team work: The new competitive business strategy. San Francisco, Calif: Jossey-Bass.

Santos, J. P., Caetano, A., & Tavares, S. M. (2015). Is training leaders in functional leadership a useful tool for improving the performance of leadership functions and team effectiveness?. The Leadership Quarterly, 26(3), 470-484.

Thai SMEs Center. (2562). ส่องรายได้ Tops Supermarket. สืบค้นจากhttp://www.thaismescenter.com/ส่องรายได้-tops-supermarket/

Thomas, G., Martin, R., & Riggio, R. E. (2013). Leading groups: Leadership as a group process. Group Processes and Intergroup Relation, 16(1), 3-16.

Wageman, R., Hackman, J.R., & Lehman, E. (2005), Team diagnostic survey: development of aninstrument. Journal of Applied Behavioral Science, 41(4), 373-398.

Welch, J. (2008). The best teams are emotional literate. Industrial and Commercial Training, 35(4), 168-171.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harperand Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30