ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานฝ่ายขายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการทำงาน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการทำงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานฝ่ายขายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05 และ 3.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .144 และ .240 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานฝ่ายขายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานฝ่ายขายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (R2=.687)
References
เอกสารอ้างอิง
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 175-184.
เกียรติ บุญยโพ. (2562). การสร้างแรงจูงใจในพนักงานเพื่อความพึงพอใจในองค์กร. วารสารวิทยาลัยวงฆ์นครลำปาง, 8(1), 237-251.
ฐิติพร เสถียรพันธุ์ และพนิตา สุรชัยกุลวัฒนา. (2561). แรงจูงใจที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ไทยเคียววะ ไบโอเทคโนโลยีส์ จำกัด. วารสารวิชาการหอการค้าไทย, 9(2), 1-18.
พัชสิรี ชมภูคำ และณัฐธิดา จักรภัร์ศิริสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชั่น Y และเจเนอเรชั่น Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18.
โรงพยาบาลราชวิถี. (24 มีนาคม 2564). สัญญาณ Burnout Syndrome อาการของคนเบื่องาน หมดไฟ. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565, จาก https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=1695.
วธัญพร สินพัฒนพงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการำทงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (พาณิชยศาสตร์และการบัญชี). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภาวี รัตนกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 137-151.
วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 104-116.
เสาวรัจ รัตรคำฟู และเมธี รัชตวิจิน. (12 พฤษภาคม 2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงโควิด 19 กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2020 /05/impact-of-working-from-home-covid-19/.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice-hall Inc.
Cochran, W. G., Mosteller, F., & Tukey, J. W. (1953). Statistical problems of the Kinsey report. Journal of the American Statistical Association, 48(264), 673-716.
Hrmprosoft. (10 September 2021). ปัญหาของคน 9 ประการ Hr ควรเตรียมมือ. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎษคม 2565, จาก https://webcache.googleusercontent.com.
Hrnote Asia. (24 July 2019). ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) สำคัญต่อองค์กรขนาดไหน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/ 190724-employee-satifaction/.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology. 22(140), 1-55.