เกี่ยวกับวารสาร
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Basic Education Research Journal) เป็นวารสารที่รองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน)
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่บทความวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอก 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัย
Focus & Scope
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการเป็นสื่อกลาง เผยแพร่บทความวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการนำองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ชุมชน สังคม มีขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การพิจารณากลั่นกรองบทความ
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อตีพิมพ์เป็นวารสารฉบับออนไลน์บนเว็บไซต์ ดังนี้
1. บทความวิจัยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น 2. บทความวิจัยต้องผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งให้ผู้ประเมิน 3. บทความวิจัยที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินจากผู้ประเมินในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) จำนวน 2 คน หากมีผลแตกต่างกัน ทางกองบรรณาธิการจะส่งให้ผู้ประเมินคนที่ 3 ซึ่งกระบวนการประเมินนี้ทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) และกองบรรณาธิการแจ้งผลการประเมินให้ผู้นิพนธ์ทราบ โดยผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความวิจัยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ ตามที่ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะ โดยผ่านกองบรรณาธิการ เพื่อความสมบูรณ์ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่ จึงจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการประเมินและถือเป็นที่สิ้นสุด
คำแนะนำผู้นิพนธ์
ผู้นิพนธ์ต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้นและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด
การตรวจสอบบทความ และพิสูจน์อักษร
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดการตรวจสอบ (Plagiarism checking System) การคัดลอกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ CopyCatch (Copyright, Academic Work and Thesis Checking System) โดยจะต้องมีระดับความซ้ำซ้อนกับเอกสารอื่นๆที่อยู่ในระบบ ThaiJO ไม่เกิน 20%
อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์
ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ในวารสาร