การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ออกแบบการวิจัยเป็นแบบรองรับภายใน ด้วยการศึกษาวิธีเชิงคุณภาพ และสนับสนุนด้วยวิธีการเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และแบบประเมินนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการ ประกอบด้วย 1) พิจารณาเป้าหมาย และวางแผนการดำเนินงาน 2) ปฏิบัติการสอนและสังเกตชั้นเรียน 3) ขั้นสะท้อนคิด 4) ประเมินผลสำเร็จ 4.การวัดและการประเมินผล 5. เงื่อนไขสำคัญ และ 6.ปัจจัยสนับสนุน
- ผลการตรวจสอบรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53, S.D.= 0.47)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2557). การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 จาก https://www.prc.ac.th/document/teacher/curriculum/4c5991e59785af35dc4cb3f2de80863ce8fd1307.pdf
นัตยา หล้าทูนธีรกุล. (2559). PLC การพัฒนาครูเพื่อศิษย์ยุค THAILAND 4.0. ขอนแก่น สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2562). สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC&Logbook. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี แย้มกสิกร. (2561). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู. ใน การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจําปี 2559 เรื่อง “การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา.
โรงเรียนหนองรีประชานิมิต. (2563). รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้. กาญจนบุรี: โรงเรียนหนองรีประชานิมิต.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และคณะ. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒพล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 จาก http://www.sakonarea1.go.th/news_file/p76213222146.pdf
สุเมธ งามกนก. (2556). การบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาบทเรียน (Lesson study). วารสารวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 37-47.
เสถียร อ่วมพรหม. (2560). แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพProfessional Learning Community. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
อิสรนันท์ ศิโรรัตนพาณิชย์. (2559). การนิเทศในโรงเรียนสกล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.
David Mello. (2013). Effectiveness of active learning in the arts and sciences Department of Mathematics, and Department of Legal Studies. Rhode Island: Johnson & Wales University.
James Bellanca and Ron Brandt. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Solution Tree Press.