การประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดบริการแนะแนว สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการจัดบริการแนะแนว 2) จัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นของการจัดบริการแนะแนว 3) ประมวลข้อเสนอแนะของการจัดบริการแนะแนว สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าจัดลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดบริการแนะแนว สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคลอยู่ในระดับน้อย อีก 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่คาดหวังในการจัดบริการแนะแนว สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นของการจัดบริการแนะแนว สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ พบว่า ความต้องการจำเป็นลำดับแรก คือ การบริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล ลำดับที่ 2 ถึง 5 คือ การบริการสารสนเทศ การบริการจัดวางตัวบุคคล การบริการติดตามประเมินผล และการบริการให้คำปรึกษา ตามลำดับ และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะของการจัดบริการแนะแนว คือ ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโดยตรงในการสำรวจนักเรียน และพิจารณามอบทุนให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำคู่มือนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทราบวิธีการปฏิบัติตนเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาและการอาชีพได้อย่างถูกต้อง ควรจัดให้มีการวัดความสามารถและความถนัดของนักเรียน และมีการติดตามดำเนินงานแนะแนวที่เป็นระบบ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
กาญจนา มิลลาร์. (2556). ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการให้บริการแนะแนวของโรงเรียนสะเดาใหญ่ประชาสรรค์. วิทยานิพนศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา: สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปทุม มหาปราบ. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
โพธิพันธ์ พานิช. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับหลักและระบบงานแนะแนวในมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช (บรรณาธิการ). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบงานแนะแนวในสถานศึกษา หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนตรี อินตา. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนว ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
รัตนพร บรรจง. (2554). ปัญหาการดำเนินงานแนะแนวที่มีต่อการบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: จันทบุรี.
รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2): 110-131.
เริงศักดิ์ จันทร์นวล. (2561). ความต้องการจำเป็นของการให้บริการแนะแนวแก่นักเรียน โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศุภกาญจน์ เผยฤทัย. (2553). การพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวโรงเรียนโพธารามพิทยาคม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.