องค์ประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

Main Article Content

พัชรินทร์ อโลภะตานนท์
ดวงใจ ชนะสิทธิ์
อรพรรณ ตู้จินดา

บทคัดย่อ

บทความงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 รวม 426 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนกระจายตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 มีจำนวน 5 องค์ประกอบ 32 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) บทบาทของครูและผู้บริหาร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) การจัดการเรียนการสอน 4) การพัฒนานักเรียนตามความสามารถ และ 5) การพัฒนาอาคารสถานที่ี 2. ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 พบว่า โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ภาพรวมของการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนานักเรียนตามความสามารถ การพัฒนาอาคารสถานที่ และการจัดการเรียนการสอน แตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชษฐา เถาวัลย์. (2557). องค์ประกอบในการตัดสินใจของผู้ปกครองมุสลิมที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนต่อในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิจกาญจน์ นามมาลา. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นิศาชล สืบแจ้. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนใโรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก, หน้า 125-130.

มะลิวัลย์ สุริวัน. (2561). แนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อให้ผู้ปกครองตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วรรณรัตน์ กลิ่นอุทัย. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนราชวัตรวิทยา เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุนิด ดวงใจ. (2557). การศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Stevens, J. (1992). Applied multivariate statistics for the social sciences. (2rd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.