ความต้องการ Metadata Profile สำหรับอธิบายข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่พัฒนาตามมาตรฐาน มอก.19115-2548 ของผู้ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการคำอธิบายข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ ตามมาตรฐาน มอก.19115-2548 ของผู้ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งให้บริการโดยกรมพัฒนาที่ดินจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ใช้ใน 4 สังกัดที่เคยรับบริการในปีงบประมาณ 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Kruskal-Wallis H. Test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ข้อมูลจาก 4 สังกัด ต้องการให้มีคำอธิบายข้อมูลตามมาตรฐาน ทั้ง 373 รายการ ต่างกันจำนวน 51 รายการ (ร้อยละ 13.67) โดยประเภทรายการที่บังคับให้ระบุรายละเอียดต่างกัน จำนวน 3 รายการ ส่วนรายการประเภทที่บังคับให้ระบุรายละเอียด หากมีข้อมูล จำนวน 6 รายการ โดย พบว่าค่ากลางของหน่วยงานเอกชนจะต่ำที่สุดในทุกรายการ
This research purposes to study and compare the need of GIS metadata according to TISI.19115-2005 of the land data users serviced by the Department of Land Development from 146 samples. A questionnaire was used to collect the data from the users in 4 sectors who received the services in the fiscal year 2014. The data were analyzed by Kruskal-Wallis H.’s Test. The research findings revealed that the data users from 4 sectors needed the metadata according to the standard of 373 items –there were 51 different items (13.67 %), 3 different items which must be specified the details and 6 items which must be specified the details if available. It was found that the average of the private sectors would be the lowest in all items.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3390 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารสนเทศภูมิศาสตร์-การอธิบายข้อมูล (2548, 1 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 110 ง ราชกิจจานุเบกษา หน้า 6.
ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2557). มอก. 19115 คำอธิบายข้อมูล-Metadata (ฉบับภาษาไทย). ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2557, จาก http://thaisdi.gistda.or.th/
index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=37:standard&id=3:iso-manual&Itemid=57
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
KREJCIE, R. V., & MORGAN, D. W. (1970). Determining sample size for researcheducational and psychological measurement, 30, 607-610.