ผลการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาที่มีต่อการเจริญเติบโตของทารกและ ความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ของทารกที่มีภาวะป่วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาต่อการเจริญเติบโตของทารกและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่ทารกมีภาวะป่วย ของแผนกกุมารเวช 3 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 33 ราย ผู้วิจัยทำการประเมินน้ำหนักตัว เส้นรอบศีรษะ ความยาวลำตัวของทารกและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ก่อนและหลังการนวดสัมผัสทารกโดยมารดา เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความผูกพันระหว่างมารดาและทารก ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบ Pair T-test
ผลการวิจัย พบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัว เส้นรอบศีรษะ และความยาวลำตัวก่อนและหลังได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และคะแนนเฉลี่ยความผูกพันระหว่างมารดาและทารกก่อนและหลังได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
This study was quasi-experimental research with two-group pretest-posttest design. The purpose of this research was to investigate the effect of infant massage on the growth of infants and maternal-infant attachment. The study samples consisted of 33 mothers from the Pediatrics Department 3 of Sawan Pracharak hospital. The research data was evaluated form body weight, head circumference, length measurement and maternal-infant attachment, them were used to control groups pretest and posttest program after infant massage. The research tools used for this research were the questionnaires about maternal-infant attachment. The reliability of the assessment tool was 0.87. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation and comparison within group means were tested by paired T-test at the 0.05 level of significance.
The results revealed that the difference of the growth of infant and an average score of the maternal-infant attachment pretest and posttest scores was found to be statistically significant (p <0.05).
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ดรุณี ชมกลิ่น.(2549). ผลของโปรแกรมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์บิดาและทารกโดยการนวดสัมผัสต่อความผูกพันของบิดาต่อทารกเกิดก่อนกำหนด.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล ธีระรังสิกุล. (2545). การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ : พี เพรส.
รัตนา งามบุณยรักย์. (2553). ผลของวิธีการพยาบาลแบบเนื้อแนบเนื้อต่ออุณหภูมิกายของทารกแรกเกิดและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร สัณหภักดี. (2547). ผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อพฤติกรรมความผูกพันระหว่างมารดาและทารกของมารดาทารกแรกเกิดก่อนกำหนด.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรีย์รัตน์ ชลันธร. (2545). ผลการสัมผัสจากมารดาต่อการเจริญเติบโตของทารกคลอดก่อนกำหนดและความผูกพันระหว่างมารดาและทารก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุอารี ล้ำตระกูล. (2551). ประสิทธิผลของการนวดสัมผัสร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์กับทารกต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกแรกเกิดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอด.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อภิเชษฐ ปานจรัตน์. (2551). การนวดสัมผัสและการฟังเพลงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อำนาจ พิมพาต. (2552). ผลโปรแกรมของการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาต่อความรักความผูกพันระหว่างมารดาทารกและน้ำหนักตัวทารก.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Chark CL., et at. (2013).Neonatal CSF oxytocin levels are associated with parent report of infant end sociability , Psychoneuro endoerino, 38:1208-1212.
Davis KF, Parker KP, Montgomery GL.(2004). Sleep in infants and young children: Part one: Normal sleep. Journal of Pediatric Health Care,18(2): 65-71.
Dieter. J.N., et al. (2003). Stable preterm infants gain more weight and sleep less after five days of massage therapy. Journal of Pediatric Psychology, 28, 403-11.
Phillips, S. J., & Tooley, G.A.(2005). Improving child and family outcomes following complicated births requiring admission to neonatal intensive care units. Sexual and Relationship therapy, 20,431-442.