ผลของการเตรียมกล้วยด้วยความร้อน และสารเคมีต่อคุณภาพ และการยอมรับกล้วยบวชชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมกล้วยด้วยการต้ม และการแช่ในสารละลายผสมของแคลเซียมคลอไรด์ (1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) กับกรดซิตริค (1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) หรือกรดแอสคอร์บิค (1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) เป็นระยะเวลา 30 นาที ต่อคุณภาพ และการยอมรับของกล้วยบวชชี จากผลการทดลองพบว่า การเตรียมกล้วยด้วยความร้อน และการแช่ในสารละลายผสมทั้ง 2 ชนิด สามารถลดกิจกรรมของเอนไซม์พอลีฟีนอลออกซิเดส และเพอร์ออกซิเดสลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยที่ผ่านการต้มในน้ำเดือด เมื่อนำกล้วยที่ผ่านการเตรียมไปทำกล้วยบวชชีพบว่า สีของเนื้อกล้วย และน้ำกะทิที่ได้มีค่าความสว่างสูงกว่า และมีค่าดัชนีการเกิดสีน้ำตาลต่ำกว่ากล้วยบวชชีที่ใช้กล้วยที่ไม่ผ่านการเตรียม (ตัวอย่างชุดควบคุม) และยังพบว่า การเตรียมกล้วยช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของเนื้อกล้วยบวชชีให้มีค่าความแน่นเนื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยที่ผ่านการเตรียมด้วยการต้ม อย่างไรก็ตามการเตรียมดังกล่าวนั้นไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้ทั้งหมด จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับกล้วยบวชชีที่ผ่านการเตรียมกล้วยมากกว่ากล้วยบวชชีชุดควบคุม
The objective of this research was to investigate the preparative effect of banana by boiling and soaking in mixed solutions of calcium chloride (1%, w/v) plus citric acid (1%, w/v) or ascorbic acid (1%, w/v) for 30 min on qualities and acceptability of banana in coconut milk. The results displayed that prepared banana using heating and both mixed solutions could reduce the activities of polyphenol oxidase and peroxidase, particularly those in boiled banana. After production of banana in coconut milk, banana flesh and coconut milk were found to have the apparent brighter and lower in browning index than untreated banana (control sample). Moreover, it was observed that banana preparations could improve the flesh texture by increasing the firmness value, especially boiled banana. However, all treatments had no effect on pH values and total soluble solids of banana flesh and coconut milk. The sensory evaluation results showed that the consumers accepted banana in coconut milk with prepared bananas more than the control.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จิรนาถ บุญคง ทิพวรรณ บุญมี และพัชราวรรณ เรือนแก้ว. 2558. การใช้แป้งกล้วยหอมทองดิบที่มีสมบัติต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในผลิตภัณฑ์พาสต้า. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 10(1) : 19-29.
ทักษิณา อินทรมณี รัชฎา ตั้งวงค์ไชย วราภรณ์ ภูตะลุน และดนุพล เกษไธสง. 2560. ผลของสภาวะการทอดแบบน้ำมันท่วมต่อลักษณะทางกายภาพและเคมีของกล้วยน้ำว้าสุกแผ่นทอดกรอบ. รายงานอันสืบเนื่องมาจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 มีนาคม 2560. หน้า 558-569.
สมฤดี ไทพาณิชย์ และปราณี อ่านเปรื่อง. 2556. การป้องกันการเกิดสีน้ำตาลของผลิตภัณฑ์เนื้อกล้วยหอมตีป่นพาสเจอไรซ์. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 9(1) : 39-51.
สมฤดี ไทพาณิชย์ และธิดารัตน์ แย้มอาษา. 2553. คุณลักษณะของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดสในกล้วยน้ำว้า Musa sapientum Linn. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 5(1) : 54-63.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists. Washington, D.C., USA: AOAC.
Chaikham, P., Rattanasena, P., Phunchaisri, C. and Sudsanor, P. 2017. Quality changes of litchi (Litchi chinensis Sonn.) in syrup due to thermal and high pressure processes. LWT-Food Science and Technology. 75: 751-760.
Ferrari, G., Maresca, P. and Ciccarone, R. 2010. The application of high hydrostatic pressure for the stabilization of functional foods: Pomegranate juice. Journal of Food Engineering. 100: 245–253.
Chaikham, P., Prangthip, P. and Seesuriyachan, P. 2016. Ultra-sonication effects on quality attributes of maoberry (Antidesma bunius L.) juice. Food Science and Technology Research. 22(5): 647-654.
Schwartz, S. J., von Elbe, J. H. and Giusti, M. M. 2008. Fennema’s Food Chemistry, in Damodaran, S., Parkin, K. L. and Fennema, O. R. (Eds.). (4th ed.). Boca Raton, FL: CRC Press.