คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สามารถคาดทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 336 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถาม ช่วงวันที่ 1 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 77.1 รองลงมาคือ มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 12.5 เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายอยู่ในระดับดีสูงที่สุด รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยที่สามารถคาดทำนายต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมและความมั่นคงในชีวิต โดยสามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้ร้อยละ 62.1
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดรูปแบบกิจกรรมหรือการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและสามารถเป็นกำลังหลักในการช่วยดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เบญจมาศ นาควิจิตร. (2551). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดุแลสุขภาพตนเองและความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผ้สูงอายุของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557 (SITUATION OF THE THAI ELDERLY 2014). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ บุญเรือง ขาวนวล พลภัทร ทรงศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุตำบลแหลมโตนด อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(1), 55-65.
โปรดปราน เพชรสด. (2555). แนวโน้มการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านจำรุง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร).
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2558). จำนวนประชากรแยกรายอายุ จังหวัดสระแก้วปี 2558, 6 กันยายน 2559. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สง่า สงครามภักดี. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 9(1), 38-46.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2555). การดูแลผู้สูงอายุ แบบบูรณาการในชุมชน. กรุงเทพฯ : ที คิว พี จำกัด.
สุพรรณี นันทชัย. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุธรรม นันทมงคลชัย โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2553). รายงานวิจัยเรื่องความสุขและวิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่เลี้ยงหลานในเขตชนบทภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก (1997).
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล วนิดา พุ่มไพศาลชัย กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ วราณี พรมานะรังกุล. (2545) เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.5 มกราคม 2559. สืบค้นจาก http://www.dmh.moph.go.th/test/whoqol
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2558). คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ. 8 มกราคม 2559. สืบค้นจาก http://www.nakhonnayok.m-society.go.th/wp-content/uploads/2015/07/จัดสภาพแวดล้อมผู้สูงอายุ.pdf
อนัศยา ซื่อตรง ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2559). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2); 58-70.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข.(2558). ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุราชการ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์,ฉบับพิเศษ , 30-42.
Cobb S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosom Med, 38(5), 300-14.
Coopersmit, S. (1993). The Antecedent of Self Esteem. Palo Alto. Califomia: Consulting Psychologists Press, Inc.
Daniel W W. (2010). Biostatistics: Basic Concept and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. Asia: Wiley& Sons, Inc.
Ferrans CE. (1996). Development of a Conceptual Model of Quality of Life. Nurs Res, 10(3), 293-304.
House JS. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.