การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการขยายตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

แสงดาว วงค์สาย
จุฑาพร เกษร
นพชัย วงค์สาย

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการประเมินการขยายตัวเมืองในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2559 โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่าในช่วงระยะเวลา 7 ปี พื้นที่การเกษตรลดลงคิดเป็นร้อยละ 33 เมื่อเทียบจากพื้นที่เดิมในปี พ.ศ. 2552 โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่โล่ง ในขณะที่พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11 โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงมาจากสวนยางพารา อัตราการขยายตัวเมืองจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1,347 ไร่ต่อปี (2.16 ตารางกิโลเมตรต่อปี) โดยอำเภอเมืองภูเก็ตมีอัตราการขยายตัวเมืองมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอถลาง และอำเภอกะทู้ ตามลำดับ แต่ไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวโดยธรรมชาติ การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการวางผังเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภูเก็ตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Mohapatra, S. N., Pani, P., & Sharma, M. (2014). Rapid Urban Expansion and Its Implications on Geomorphology: A Remote Sensing and GIS Based Study. Geography Journal, 1-10. doi:10.1155/2014/361459
Verburg, P. H., Veldkamp, T. A., & Bouma, J. (1999). Land use change under conditions of high population pressure: the case of Java. Global Environmental Change, 303-312. doi: 10.1016/S0959-3780(99)00175-2.
Wen, B., & Shao, M. (2005). Land-use change analysis in Shenmu County in the Leoss Plateau of China using remote sensing and GIS. International Geoscience and Remote Sensing Symposium. 4, 2295-2298. Seoul, Korea. doi:10.1109/IGARSS.2005.1525433.
Xi, J., Zhao, M., Ge, Q., & Kong, Q. (2014). Changes in land use of a village driven by over 25 years of tourism: The case of Gougezhuang village, China. Land Use Policy, 40, 119-130. doi:10.1016/j.landusepol.2013.11.014.
จุฑาพร เกษร และแสงดาว วงค์สาย. (2556). การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันประเทศไทย. วารสารสมาคมสำรวจระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย, 14 (2), 59-66.
โชติ ถาวร, สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, โนริยูกิ ซูซูกิ, และขนิษฐา นันทบุตร. (2555). นโยบายการพัฒนาของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของประชาชนในชุมชนอ่าวป่าคลอกจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9, 6-7 ธันวาคม 2555, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, 954-962.
นฤนาถ พยัคฆา, และแสงดาว วงค์สาย. (2555). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9, 6-7 ธันวาคม 2555, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, 381-388.
วสันต์ ออวัฒนา. (2555). การคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สาธิต แสงประดิษฐ์. (2559). การใช้การรับรู้จากระยะไกลเพื่อวิเคราะห์รูปแบบภูมินิเวศของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11 (1), 11-23.
แสงดาว วงค์สาย. (2560). การจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการดิจิไตซ์ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูง ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องระบบตรวจสอบการใช้ที่ดินบนคลาวด์แพลตฟอร์ม: โครงการนำร่องจังหวัดภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สไบทอง กันนะ. (2556). ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.