ผลการใช้รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนด้วยกระบวนการ สิ่งแวดล้อมศึกษาในชุมชนริมน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลใช้รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในชุมชนริมน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงประเมิน เก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจและแบบประเมิน จากตัวแทนครัวเรือนในตำบลกุดน้ำใสที่ทำเกษตรอินทรีย์ในการสร้างความเพียงพอของวัตถุดิบของอาหาร จำนวน 10 ครัวเรือนและเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบ 45 คน วิเคราะห์ค่าความหลากหลายของพืชอาหารด้วย Menhinick index (R2) ใช้สถิติพื้นฐาน และ t-test ได้ผลคือ การเพิ่มความเพียงพอของอาหารโดยการทำเกษตรอินทรีย์ของครัวเรือนนำร่อง 10 ครัวเรือน ในพื้นที่รวม 2 งาน มีผลทำให้มีพืชอาหารเพิ่มขึ้นในแปลงหลังดำเนินการ 3 เดือน มีค่าความหลากหลายของพืชอาหารเพิ่มเป็น R2=1.52 ซึ่งเดิมก่อนทำกิจกรรมตามรูปแบบมีค่า R2=0.31 และหลังเข้าร่วมกิจกรรม ของตัวแทนครัวเรือนรวม 45 คน พบว่า มีความรู้และความตระหนักเพิ่มขึ้นในระดับมากที่สุด โดยสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรูปแบบมีคุณภาพในระดับมากที่สุด (x̅= 4.85, S.D. = 0.45) สามารถนำรูปแบบไปใช้ได้ต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Frischknecht, R, R Steiner, & N Jungbluth. (2009). Environmental Studies No. 0906 The Ecological Scarcity Method – Eco-Factors 2006. A Method for Impact Assessment in LCA.
Glantz, Karen. (2000). Health Promotion Planning: An Educational and Ecological Approach (3rd Ed) - ProQuest. American Journal of Preventitive Medicine 18(1): 104–5.
Godfray, H Charles J et al. (2014). Food Security and Sustainable Intensification. Philosophical transactions of the Royal Society of London. Series B, Biological sciences 369(1639): 20120273.
Kasem Chankaew.(2017) River settlement model affecting river water quality in Phetchaburi river, Phetchaburi province. Journal of Social Sciences , Srinakharinwirot University , 20(1). (in Thai)
Maxwell, Simon. (1996). Food Security: A Post-Modern Perspective. Food Policy 21(2): 155–70.
Menhinick, E. F. (1964). A Comparison of Some Species‐Individuals Diversity Indices Applied to Samples of Field Insects. Ecology, 45(4), 859-861.
Mungkarndee, P., & Wirojanagud, W. (2005). Impact of pollution sources on the Pong River water quality. Southeast Asian Water Environment 1.