การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณโดยรอบถนนวงแหวนรอบกลางเมืองเชียงใหม่ หรือถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และศึกษารูปแบบกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ศึกษา ทำการศึกษาด้วยวิธีการทางภูมิศาสตร์ โดยการแปลความหมายภาพถ่ายจากดาวเทียม Quickbird ปี พ.ศ. 2552 และดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) ปี พ.ศ. 2557 นำมาวิเคราะห์ซ้อนทับด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และบูรณาการร่วมกับการสำรวจพื้นที่และการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาจำนวน 36 ราย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและออกแบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงปี 2552 ถึง ปี 2557 พื้นที่ศึกษา 32,691 ไร่ มีพื้นที่เกษตรกรรมลดลงจาก 2,446 ไร่ เหลือ 2,087 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.48 และ 6.38 ตามลำดับ ลดลง 359 ไร่ อัตราการลดลงร้อยละ 2.94 ต่อปี ในขณะที่พื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างจาก 13,418 ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 15,533 ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 2,115 ไร่ หรือมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15 ต่อปี พื้นที่เกษตรกรรมที่สูญเสียไปส่วนใหญ่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง โดยเฉพาะบริเวณจุดตัดของถนน และบริเวณใกล้กับถนนสายหลัก จากการสำรวจกิจกรรมการเกษตร ส่วนมากเป็นกิจกรรมการเกษตรแบบเข้ม พืชที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ ข้าวเหนียว พืชอื่นๆ ได้แก่ พืชผักสวนครัว กล้วย ไม้ดอกไม้ประดับ มะนาว ลำไย เป็นต้น ข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่าง 36 ราย พบว่ามีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 5.81 ไร่ ใช้น้ำจาก น้ำบาดาล คลองชลประทาน แม่น้ำปิง และแม่น้ำคาว ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อปี 24,361 บาทต่อปี มีรายได้รวมเฉลี่ย 91,361 บาทต่อปี ด้านประสบการณ์และการรับรู้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินและการเลิกทำการเกษตร พบว่า มีเกษตรกร 14 ราย ที่เคยมีผู้มาติดต่อขอซื้อที่ดิน มีจำนวน 6 รายที่เคยขายที่ดินไปแล้ว และมี 13 ราย ที่มีญาติหรือเพื่อนบ้านได้เลิกทำการเกษตร นอกจากนี้ยังพบว่า มีเกษตรกรถึงร้อยละ 77.8 ไม่มีลูกหลานที่จะมาดำเนินการเกษตรในอนาคต จากที่กล่าวมา ภาครัฐควรมีมาตรการที่ชัดการในการป้องกันการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูง อนุรักษ์แหล่งเกษตรกรรมที่มีเอกลักษณ์ หรือแหล่งภูมิปัญญาด้านการเกษตร และควรมีนโยบายส่งเสริมภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง สร้างความตระหนักในการเห็นคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณัษฐพงศ์ วรรณวิจิตร. (2548). พัฒนาการของการขนส่งทางถนนและความเป็นพลวัตของการใช้ที่ดินในเขตชานเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุษกร ขลังธรรมเนียม. (2558). การใช้ที่ดินเกษตรกรรมในเขตชานเมืองกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 20 มกราคม 2558. จาก http://cpd.bangkok.go.th/tp/load_doc/agriuse.pdf
ปนัดดา พาณิชยพันธุ์. (2554). พัฒนาการของโครงข่ายการขนส่งและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตชานเมือง: กรณีศึกษาชานเมืองเชียงใหม่-แม่โจ้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรัชมาศ ลัญชานนท์. (2557). การศึกษาศักยภาพแหล่งเกษตรกรรม เพื่อการอนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวของเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 10(2): 115-137.
ศันสนีย์ ศรีศุกรี. (2553). พื้นที่สีเขียวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: แนวความคิดในการจัดทำผังเมืองไทย. วารสารกรมโยธาธิการและผังเมือง. 31: 8-15.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ.2559. สืบค้น 1 สิงหาคม 2561. จากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5628&filename=gross_regional
Jiang, L., Deng, X., Seto, K.C. (2013). The Impact of Urban Expansion on Agricultural Land Use Intensity in China. Journal of Land Use Policy. 35: 33-39.
Nguyen, T. H. T., Tran, T. V., Bui, Q. T., Man, Q. H., Walter, T. V. (2016). Socio-economic Effects of Agricultural Land Conversion for Urban Development: Case Study of Hanoi, Vietnam. Journal of Land Use Policy. 54: 583-592.
Van, T. T. (2008). Urban Expansion and Loss of Agricultural Land in the North of Ho Chi Minh
City: A GIS and Remote Sensing Approach. VNU Journal of Science, Earth
Sciences. 24: 104-111.