ผลของการทดแทนแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ต่อคุณภาพบะหมี่

Main Article Content

พวงชมพู หงษ์ชัย
นันทวัฒน์ โลโสดา

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์บะหมี่ 5 ระดับ คือร้อยละ 0, 10, 20, 30 และ 40 ของน้ำหนักแป้ง พบว่า สูตรที่มีการทดแทนด้วยแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ที่ร้อยละ 10 มีค่าร้อยละของการดูดน้ำไม่แตกต่างกับสูตรควบคุม เมื่อเพิ่มอัตราส่วนการทดแทนด้วยแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์มากขึ้นจะทำให้บะหมี่มีค่าร้อยละของการดูดน้ำและค่าร้อยละของการสูญเสียของแข็งลดลง รวมทั้งมีผลต่อสีของบะหมี่คล้ำลง ทำให้ค่าความสว่าง (L*) และค่าสีเหลือง (b*)ลดลง แต่ค่าสีแดง (a*)เพิ่มขึ้น  เมื่อนำเส้นบะหมี่ไปวัดลักษณะเนื้อสัมผัสพบว่า สูตรที่มีการทดแทนด้วยแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ที่ร้อยละ 20 มีค่าระยะทางการดึงขาดสูงสุดไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม ประกอบกับคะแนนความชอบคุณลักษณะของบะหมี่ไม่แตกต่างกับสูตรควบคุม โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 7.80±0.88 (ระดับความชอบปานกลาง) จึงเลือกการทดแทนด้วยแป้งกล้วยพรีเจลาติไนซ์ที่ร้อยละ 20

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ญาณิศา รัตอาภา, วิภา สุโรจนะเมธากุล, มาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์, ตวิษา โลหะนะ, ไพลิน ผู้พัฒน์ และ วารุณี ประดิษฐ์ศรีกุล. (2536). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งกล้วย. วารสารอาหาร. 23(3), 197-208.
นฤมล ลอยแก้ว และชิตสุดา ชัยศักดานุกูล. 2559. การศึกษาสมบัติของแป้งกล้วยหินและกล้วยหักมุกและการ ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์บะหมี่สด. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, 29 เมษายน 2559 ณ อาคารดิจิทัล มัลติมีเดีย คอมเพล็กซ์ มหาวิทยาลัยรังสิต. รังสิต : ปทุมธานี.
วราภรณ์ สกลไชย. 2551. การเกิด Resistant Starch โดยการใช้กระบวนการความร้อนและการใช้
ทดแทนในผลิตภัณฑ์คุกกี้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
AACC. 2000. Approved methods of the American Association of Cereal Chemist (10th ed.). St. Paul, Minnesota: American Association of Cereal Chemists.
Palmer, J.K. (1971). Physical, rheological and chemical properties of bananas during
ripening, Journal of Food Science, 38(3), 456-459.
Park, C. S., Hong, B. H. and Baik, B. K. (2003). Protein Quality of Wheat Desirable for making Fresh White Salted Noodles and Its Influences on Processing and Texture of Noodles. Cereal Chemistry, 80(3), 297-303.
Toyokawa, H., Rubenthaler, G.L., Powers, J.R., & Schanus, E.G. (1989). Japanese Noodle
qualities. II. Starch components, Cereal Chemistry, 66(5), 387-391.
Yadav, B. S., Yadav, R. B. and Kumar, M. (2011). Suitabillity of pigeon pea and rice starches
and their blends for noodle making, Food science and Technology, 44(6), 1415-1421.