การพัฒนาการผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสจากน้ำสมุนไพร

Main Article Content

ปุณยนุช นิลแสง
จิตติมา กอหรั่งกูล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสจากน้ำสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่  กระชาย (Boesenbergia pandurata (Roxb.)) มะรุม (Moringa oleifera Lam.) ตะไคร้ (Cymbopogon citrates (DC.) Stapf) และขิง (Zingiber offcinale Vern.) โดยเชื้อแบคทีเรีย Acetobacter xylinum โดยมีการศึกษาอัตราส่วนระหว่างน้ำมะพร้าวและน้ำสมุนไพรที่เหมาะสมในด้านคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของแบคทีเรียเซลลูโลสที่ผลิตได้ ดังนี้ สูตรที่ 1 น้ำมะพร้าว 100% สูตรที่ 2 น้ำมะพร้าว 75%: น้ำสมุนไพร 25% สูตรที่ 3 น้ำมะพร้าว 50%: น้ำสมุนไพร 50% สูตรที่ 4 น้ำมะพร้าว 25%: น้ำสมุนไพร 75% ทำการเลี้ยงเชื้อในกล่องพลาสติกเป็นเวลา 10 วันที่อุณหภูมิห้อง  ผลการวิจัยพบว่าความหนาและการทนเคี้ยวของเซลลูโลสลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณน้ำสมุนไพร และสูตรน้ำมะพร้าว 75%: น้ำสมุนไพร 25% จากน้ำมะรุมให้ความหนาสูงสุดที่ 1.29 + 0.01 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำตะไคร้ น้ำกระชาย และน้ำขิง ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบโดยประมาณชีวมวลประกอบด้วย ความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมันและเยื่อใย พบว่าแบคทีเรียเซลลูโลสจากน้ำสมุนไพรแต่ละสูตรไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) เมื่อทำการวิเคราะห์ต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำสมุนไพรในแบคทีเรียเซลลูโลสมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 อย่างไรก็ตามสูตรที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คือสูตรน้ำมะพร้าว 75%: น้ำสมุนไพร 25%  และแบคทีเรียเซลลูโลสจากน้ำตะไคร้ได้คะแนนการยอมรับสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพทางด้านกายภาพและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนวุ้นมะพร้าว มผช.341/254

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว เจริญพรสุข. (2547). การผลิตวุ้นสวรรค์จากเวย์, วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง, 1 (2) , 36-41.
กาญจนา ชินสำราญ และ ฤทัยรัตน์ สุทธิสุวรรณ. (2558). การพัฒนาการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียในกากน้ำตาลโดยใช้น้ำมะพร้าวเป็นสารอาหารเสริมและการเติมสารที่ทำให้เกิดเจล. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ. 3(2) :98-108.
เกรียงไกร พัทยากร, อรัญญา พรหมกูล และ วรรณทิชา เศวตบวร.(2558). คุณลักษณะของแบคทีเรียวุ้นสวรรค์ที่ผลิตได้จากแก้วมังกร. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 917-921.
พัฒนพงษ์ วันจันทึก (2543). การผลิตเซลลูโลสจากน้ำคั้นจากเปลือกสับปะรดโดยเชื้อ Acetobacter sp. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
วิจิตรา ใหม่เจริญ, พิชามญชุ์ กำมังละการ, สุวรรณา สุดปรึก, กุลนันท์ ปุ๊ดพรหม, ชุติมา อันชนะ, จันทร์ทิมา พงษ์พานิช และสุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2555). การผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum TISTR086 โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นแหล่งคาร์บอน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 3(2): 92-97.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (2000). Official methods of analysis of AOAC international (17th edition). AOAC International, Gaithersburg, MD.
Castro C., Zuluaga, R., Putaux, J-L., Caro, G., Mondragon, I., Ganñán, P.(2011). Structural characterization of bacterial cellulose produced by Gluconacetobacter swingsii sp. From Colombian agroindustrial wastes. Carbohydrate Polymers. 84: 96-102.
FDA- Bacteriological Analytical Manual (BAM) (2001). “Yeasts Molds and Mycotoxins.” in Chapter18.[Online].Available:https://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071435.htm
Jagannath, A., Kalaiselvan, A., Manjunatha,S.S., Raju, P.S., Bawa, A.S. (2008). The effect of pH, sucrose and ammonium sulphate concentrations on the production of bacterial cellulose (Nata-de-coco) by Acetobacter xylinum. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 24:2593–2599.
Kamal, M., Hossain, I, Shikha, S., Neazuddin, M., Bapary, M., Islam, M.N. (2005). Effect of salt concentration and Cryoprotectants on gel-forming ability of surimi prepared from Queen fish (Chorinemus lysan) during frozen storage. Pakistan Journal of Biological Science. 8(6): 793-797.
Keshk, S.M.A.S., Razek, T.M.A., Sameshima, K. (2006). Bacterial cellulose production from beet molasses. African Journal of Biotechnology. 5 (17): 1519-1523.
Kurosumi, A., Sasaki. C., Yamashita, Y. Nakamura. Y. (2009). Utilization of various fruit juices as carbon source for production of bacterial cellulose by Acetobacter xylinum NBRC 13693. Carbohydrate Polymers. 76 (2):333-335.
Nilsang, S. (2015). Antioxidant activity and total polyphenol content in Thai Herbal fermented juices. In the proceeding of the 2015 International forum in Agriculture, Biology and Life science (IFABL2015) on June 23-25, 2015. Sapporo, Japan.
Nilsang, S.,(2016). Chemical and Microbiological properties in Indian Gooseberry (Phyllanthus emblica Linn.) fermented juice producing by Household Process in Thailand. In the proceeding of The 4th International Symposium on Fundamental and Applied Science (ISFAS 2016) on 29 March- 1 April, 2016. Kyoto, Japan.
Nilsang S. (2017). Physical and chemical characteristics of Nata de coco mixed with Gac fruit (Momordica cochinchinensis) juice. In the proceeding of Asia-Pacific Conference on Life Science and Biological Engineering (APLSBE2017) on March 29-31, 2017. Nagoya, Japan.
Nilsang S. (2018). Effect of spray drying temperature on quality of instant herbal drinks. Food and Applied Bioscience Journal. 6(special issue): 55-68.
Puranik, V., Mishra, V., Yadav, N, Rai, G.K. (2012). Bioactive components retention in processed indian gooseberry products. Journal of Food Process & Technology. 3:194, doi:10.4172/2157-7110.1000194.
Wenno, M.R., Wattimena, M.L., Rumakey, Z.A., Thenu, J.L. (2015). Physic and chemical characteristics of Nata de seweed from Eucheuma cottonii and Gracilaria sp. DOI.: https://dx.doi.org/10.18502/kls.vli0.77.