ภาวะสุขภาพจิตของคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 265 ตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2560 ด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ
ไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะสุขภาพจิตของคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีอยู่ในระดับเท่ากันกับคนทั่วไป (ร้อยละ 60.8) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของคนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ลักษณะที่อยู่อาศัย ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ สิทธิการรักษาพยาบาล ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม สัมพันธภาพกับคนในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อนบ้าน การป้องกันอันตรายจากมลพิษ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน แรงสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน จากข้อค้นพบจึงมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้คนในชุมชนมีการป้องกันอันตรายจากมลพิษ รวมทั้งควรจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันซึ่งจะนำมาสู่การมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีร่วมกันต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรมควบคุมมลพิษ.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2557). สถิติสะสมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2560, จาก http:// www.diw.go .th/hawk /content.php?mode=spss58.
กรมสุขภาพจิต. (2550). ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.dmh.go.th/ test/thaihapnew/thi15/thi15.asp.
จิราพร ชมพิกุล. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. (รายงานการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัวไทย สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล).
ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล. (2549). สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Healt). สืบค้นวันที่ 8 ธันวาคม 2554 เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140405
พลากร ดวงเกตุ. (2551). ภาวะสุขภาพจิตของประชากรวัยแรงงานไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
รัตนา คัมภิรานนท์, สรินธา สุภาภรณ์ และนิดาพร ศุขเขษม. (2554). การรับรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่การทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (วารสารสาธารณสุขศาสตร์, วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี). 41(3) : 219.
สถาพร เป็นตามวา. (2557). ผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล. (โครงการศึกษาสถานการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา). หน้า 14 - 16.
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย. (2557). สถิติอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2560, จาก http://php.diw.go.th/safety/?page_id=83.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2560, จาก https://www.msociety.go.th/ewtadmin/ewt/mso.
สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี. (2560). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search.
Chuang, Yan, Chiu, Cheng. (2011). Long-term air pollution exposure and risk factors for cardiovascular diseases among the elderly in Taiwan. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20833756.
Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.