การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสินค้าสีสเปรย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของสภาพปัญหาการผลิตสีสเปรย์ 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสีสเปรย์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลิตภาพก่อนและหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตสีสเปรย์ที่ 4 และ 4) เพื่อวิเคราะห์ผลด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกรายงานการผลิตประจำวัน หลักการเพิ่มผลผลิต การศึกษางาน การวิเคราะห์กระบวนการ แนวคิดการสูญเสีย 7 ประการ เครื่องมือควบคุมคุณภาพและหลักการ ECRS ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าสีสเปรย์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ สถิติ t – test ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของสภาพปัญหาการผลิตสีสเปรย์ พบว่าบริษัทกรณีศึกษามีปัญหาผลการดำเนินงานผลิตสีสเปรย์ของสายการผลิตที่ 4 ไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือต้องได้ร้อยละ 80 โดยมีสาเหตุเกิดจากการรอคอยในกระบวนการบรรจุสีสเปรย์
2) การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสีสเปรย์ พบว่าการบรรจุสินค้าหลังจากปรับปรุงกระบวนการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 55.05 ขั้นตอนกระบวนการบรรจุสินค้าจาก 36 ขั้นตอน ลดลงเหลือ 32 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 11.1 ระยะทางจาก 70.03 เมตร ลดลงเหลือ 51.19 เมตร คิดเป็นร้อยละ 26.90 เวลาผลิตจาก 132.17 นาที ลดลงเหลือ 9.78 นาที คิดเป็นร้อยละ 92.60
3) การเปรียบเทียบผลิตภาพก่อนและหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตสีสเปรย์ที่ 4 พบว่าหลังปรับปรุงผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น 198.39 โหลต่อชั่วโมง ผลิตภาพเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 198.39 โหลต่อชั่วโมง ผลิตภาพการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น 129.15 โหลต่อตารางเมตร
4) วิเคราะห์ผลด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่าเมื่อเปรียบเทียบการลงทุนอุปกรณ์ในการไล่ความชื้นมูลค่า 35,000 บาท สามารถลดต้นทุนค่าแรงในการบรรจุสินค้าได้ 10,236 บาทต่อเดือน คิดเป็นระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3 เดือน 11 วัน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักพิมพ์โรงพิมพ์ประชาชน.
ชาติชาย อัศดรศักดิ์ และพัชราภรณ์ เนียมมณี. (2547). เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิต
ตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธนพล นนทชิต. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อเครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อผลิตชิ้นส่วน
เครื่องปรับอากาศ. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ดวงรัตน์ ชีวะปัญญาโรจน์ และศุภศักดิ์ พงษ์อนันต์. (2544). ความสูญเสีย 7 ประการ. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง. (2557). การบริหารผลิตภาพ. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม.
วิจิตร ตัณฑสุทธิ์. (2539). การศึกษางาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศุภฤกษ์ กลิ่นหม่น. (2559). การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตการกัดเลนส์ขึ้นรูปค่าสายตา. วิทยานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
เมธัส หีบเงิน (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตโดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานทำ
ตู้น้ำเย็น. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป
จำกัด.
เสาวนีย์ ลาดน้อยและอบเชย วงศ์ทอง. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพข้าวเกรียบงาจาก
ปลายข้าวสินเหล็ก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(2), 19-27.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2560 และแนวโน้มปี 2561.
เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. จาก http://www.oie.go.th