การสำรวจไม้ต้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

มัทนภรณ์ ใหม่คามิ
พรรณวิภา แพงศรี
วัฒนา อัจฉริยะโพธา
ตีรณรรถ ศรีสุนนท์
พิมพ์นารา นิลฤทธิ์
นฤมล ธนานันต์

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานศึกษาที่ปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ เพื่อให้ร่มเงา ปรับภูมิทัศน์ และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเมือง นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยดำเนินงานเป็นศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ดังนั้นจึงได้มีโครงการสำรวจชนิดและจำนวนของไม้ต้นภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเพิ่มข้อมูลพื้นฐานของพรรณไม้ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจพื้นที่ และศึกษาลักษณะทางสัญฐานวิทยาเพื่อระบุชนิดของพืช ผลการสำรวจพบว่าภายในมหาวิทยาลัยมีไม้ต้น (Tree) ที่ปลูกและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งสิ้น 23 วงศ์ 65 ชนิด โดยพบไม้ต้นในวงศ์ FABACEAE มากที่สุดถึง 13 ชนิด รองลงมาได้แก่วงศ์ BIGNONIACEAE และ MORACEAE ซึ่งมีจำนวนชนิดเท่ากันคือ 7 ชนิด จากการแบ่งพื้นที่สำรวจเป็น 5 พื้นที่ พบว่าบริเวณสนามกีฬาถึงบ้านพักบุคลากรเป็นพื้นที่ที่พบชนิดของไม้ต้นมากที่สุด 43 ชนิดจากทั้ง 65 ชนิด โดยในภาพรวมของพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยพบว่าราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.) เป็นไม้ต้นระดับสูงที่พบมากที่สุด โดยพบทั้งสิ้น 447 ต้น เนื่องจากเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ส่วนไทรทอง (Ficus microcarpa L. f.) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ที่พบมากที่สุดเนื่องจากมีการปลูกอย่างหนาแน่นเพราะนิยมปลูกเป็นรั่ว และริมถนน มีจำนวน 1,532 ต้น ไม้ต้นสามารถเพื่อช่วยสร้างความร่มรื่น ปรับภูมิทัศน์ ตลอดจนเป็นไม้ผลเพื่อใช้บริโภค ที่สำคัญพรรณไม้เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืชและการปรับภูมิทัศน์ เพื่อในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพรรณไม้แก่ประชาชน บุคคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

Article Details

บท
บทความวิจัย