เครื่องปั้นดินเผาอุณหภูมิต่ำทำจากเถ้าลอยลิกไนต์ และดินเหนียวทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของวัตถุดิบ และสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นอุณหภูมิต่ำที่มีเถ้าลอยลิกไนต์ และดินเหนียวทะเลแก้วเป็นส่วนผสม เถ้าลอยเป็นวัสดุที่เป็นกากจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน กับดินทะเลแก้ว ซึ่งเป็นดินสีแดงที่มีคุณภาพดีสามารถเผาได้อุณหภูมิสูง นำมาใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอุณหภูมิต่ำที่มีคุณภาพได้ โดยนำเถ้าลอยลิกไนต์และดินเหนียวทะเลแก้วศึกษาสมบัติของวัตถุดิบ สุ่มตัวอย่างเนื้อดินปั้นแบบเจาะจงบนแกนเส้นตรง จำนวน 10 อัตราส่วนผสม ขึ้นรูปโดยวิธีการอัดแบบ ศึกษาสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นก่อนเผา เผาชิ้นทดลองที่อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบเผาไหม้สมบูรณ์ และแบบเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ศึกษาสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นหลังเผา ปรากฏว่า วัตถุดิบทั้ง 2 ชนิด มีความละเอียดเฉลี่ยสูง อยู่ในช่วง 251μ-2 mm และจากการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี เถ้าลอยลิกไนต์ และดินเหนียวทะเลแก้ว มีปริมาณซิลิกาออกไซด์สูงที่สุดคือร้อยละ 35.50 และ 62.00 รองลงมาคือ อลูมินาออกไซด์ ร้อยละ 18.80 และ 18.20 ตามลำดับ แต่ในเถ้าลอยลิกไนต์ ยังพบปริมาณแคลเซียมออกไซด์ร้อยละ 17.30 เหล็กออกไซด์ร้อยละ 12.90 ด้วย ผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนผสมที่ 1 มีปริมาณเถ้าลอยลิกไนต์ร้อยละ 5 ในอัตราส่วนผสม เป็นส่วนผสมที่ดีที่สุด จากการเผาทั้งสองบรรยากาศ ในบรรยากาศแบบเผาไหม้สมบูรณ์ มีความแข็งแรงสูงสุด 242.79 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความหนาแน่นสูงสุด 2.04 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการดูดซึมน้ำร้อยละ 12.60 และ ในบรรยากาศแบบเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ มีความแข็งแรงสูงสุด 244.30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความหนาแน่นสูงสุด 1.95 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.37 และมีสี Light Red 6/8 2.5YR (น้ำตาลแดง) ทั้งสองบรรยากาศ จึงเลือกมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ เนื้อดินปั้นที่ได้มีลักษณะใกล้เคียงกับเนื้อดินเอิร์ทเทนแวร์
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์