เกณฑ์การประเมินวัสดุก่อสร้างสีเขียวเบื้องต้น : ประเภทอิฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินวัสดุก่อสร้างสีเขียวเบื้องต้นสำหรับประเมินวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐ และทดลองใช้เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นกับโรงงาน 3 โรงงาน งานวิจัยมีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของตัวชี้วัด และขั้นตอนที่ 3 การทดสอบเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นสำหรับอิฐสีเขียว ผลการวิจัยพบว่าเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นควรแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ : ด้านวัตถุดิบมี 3 เกณฑ์ 7 ตัวชี้วัด เน้นการใช้แหล่งทรัพยากรที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับอนุญาตถูกต้องและยั่งยืน ด้านคุณสมบัติมี 3 เกณฑ์ 3 ตัวชี้วัด เน้นในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเฉพาะผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติด้านพลังงาน และปลอดภัยกับผู้ใช้ ด้านการผลิตและการขนส่งมี 2 เกณฑ์ 4 ตัวชี้วัดที่เน้นกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ประหยัดทรัพยากร และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้านการกำจัดมี 1 เกณฑ์ 2 ตัวชี้วัด ที่เน้นการบริหารจัดการขยะไม่ให้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อนำแบบประเมินทดลองประเมินกับโรงงาน 3 โรงงาน พบว่าโรงงานที่ 1 (โรงงานยังไม่มีมาตรฐาน) โรงงานที่ 2 (โรงงานกำลังขอรับรองมาตรฐาน) และโรงงานที่ 3 (โรงงานได้รับมาตรฐานแล้ว) มีผลคะแนนรวมทุกด้านร้อยละ 31.25 ร้อยละ 68.75 และร้อยละ 71.87 ตามลำดับ โรงงานที่ 1 คะแนนประเมินทุกด้านน้อย โรงงานที่ 2 และโรงงานที่ 3 คะแนนในด้านวัตถุดิบ ด้านคุณสมบัติและด้านการกำจัดได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม แต่คะแนนด้านการผลิตและการขนส่งมีคะแนนที่ต่ำ โรงงานควรมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการขนส่งตามตัวชี้วัด เพื่อทำให้โรงงานทั้ง 2 โรงงาน ผ่านการประเมินทุกด้านและพร้อมยื่นขอมาตรฐานขี้นสูงต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์