ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุจังหวัดชัยภูมิ กรณีศึกษา : ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุและศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานคือ การทดสอบ ไค-สแควร์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 74.0ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส และการศึกษา ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แหล่งรายได้หลัก และความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การมีโรคประจำตัว สำหรับปัจจัย ที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ แหล่งรายได้หลัก การมีโรคประจำตัว และความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยสามารถร่วมทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 24.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.001)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์