ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 186 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กร การจัดการความเครียดและความเครียดของพนักงานโดยใช้แบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20 ฉบับภาษาไทย) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า พนักงานมีความเครียดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.31 รองลงมามีความเครียดอยู่ในระดับรุนแรง ร้อยละ 39.78 และมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 12.91 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อายุงานในบริษัท การจัดการความเครียด และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กรมีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงาน ดังนั้น หน่วยงานควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการความเครียด เช่น การจัดให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่พนักงาน กิจกรรมแฟมิลี่เดย์ และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานเพื่อลดความเครียดของพนักงาน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือคลายเครียดฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช จังหวัดสระบุรี,
กรกฎาคม 2562. https://www.dmh.go.th/report/datacenter
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ความเครียดนำไปสู่ความเจ็บป่วยและผลาญค่ารักษาสูงลิ่ว,
กรกฎาคม 2562. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30096.
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ปัญหาเครียดครองแชมป์ปรึกษาสายด่วน 1323 ในปี 60, 5 กรกฎาคม 2562. http://www.prdmh.com
นภาพร ศรีเวช. (2550). การจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยนันท์ สวัสดิศฤงฆาร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานในสถานประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี พ.ศ. 2553. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรินยา เสนโสพิศ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). โครงการสุขภาพคนไทย 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: a foundations for analysis in the health sciences. New York: John Wiley.
John, W. & James, V. (2006). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.