ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพที่มีต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุติดบ้าน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพที่มีต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุติดบ้าน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (Two groups pretest–posttest) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 80 คน จัดให้เข้ากลุ่มทดลอง 40 คน ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพ และกลุ่มควบคุม 40 คน ได้รับกิจกรรมตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน 2) แบบสอบถาม ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2562 – กุมภาพันธ์ 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired t –test และวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Independent t -test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพ กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุ และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูสุขภาพและเพิ่มการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุติดบ้านได้
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC. สืบค้นจาก https://www.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/advisor/main.php?filename=aic02
กรมการแพทย์. (2558). การคัดกรองด้วยตนเองของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.
จารุวรรณ ก้านศรี, ดลใจ จองพานิช, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2560). ผลของโปรแกรมบริหารสมองต่อการเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่มีความจำพร่องเล็กน้อย, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 176–187.
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ, วารสารแพทย์เขต 4 - 5, 38(4), 288-298.
นรินทร์รัตน์ เพชรรัตน์, และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2557). ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม, วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 127-140.
พัชรินทร์ สมบูรณ์. (2660). การวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุข:เอกสารการทำวิจัยสู่การประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุข ระยะที่ 1. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี.
พิราลักษณ์ ลาภหลาย, สุภาภรณ์ น้ำใจดี, และมารศรี ปิ่นสุวรรณ. (2562). ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในระยะกึ่งวิกฤตต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย, วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(2), 286-96.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2556). สังคมผู้สูงอายุ...กับความท้าทายของการจัดการด้านสุขภาพ การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556. สืบค้นจาก https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/PB_Elderly-Survey-2556-_Final.pdf
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2562). Health data center. สืบค้นจาก https://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.phpsource=populationpyramid.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a7
อริสา หาญเตชะ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้มในบริเวณบ้านสำหรับผู้สูงอายุตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.
Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5thed.). Duxbery: Thaomson learning.