ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ทฤษฎี Precede Framework

Main Article Content

ศศิธร ตันติเอกรัตน์
ภัทราวดี มากมี
นิชาภา สุขสงวน
นวพร สัตพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนกลาง ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีความรู้ระดับสูง ร้อยละ 46.15 ปานกลางร้อยละ 41.53 และต่ำร้อยละ 12.32  มีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดี (= 3.05, S.D.= 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการจัดการความเครียดและพฤติกรรมการใช้ยา พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับดี การบริโภคอาหาร ( = 3.17, S.D.= 0.48) การจัดการความเครียด (= 3.10, S.D.= 0.45) และการใช้ยา (= 3.70, S.D.= 0.36) ยกเว้น การออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.21, S.D.= 0.58) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยนำ ได้แก่ อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ รายได้ การเข้าถึงบริการสุขภาพ ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p<.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาภรณ์ ทองญวน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับ

บริการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(2), 195-202.

ปฐญาภรณ์ ลาลุน, นภาพร มัธยมางกูร, และอนันต์ มาลารัตน์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค

ความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 160-169.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนกลาง. (2562). รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนกลาง ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2560-2562. เอกสารอัดสำเนา.

วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง, และวินัฐ ดวงแสนจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม

สุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(4), 152-165.

สมรัตน์ ขำมาก. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 153-169.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแล

ตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติ

ทั่วไป. สืบค้นจาก http://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2562). ระบบรายงาน Health data center (HDC). สืบค้นจาก

http://www.rbpho.moph.go.th/hdc.php

อรรถพงศ์ เพ็ชร์สุวรรณ. (2552). พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและ

โรคเบาหวาน: กรณีศึกษา ผู้มารับบริการทางการแพทย์เขตสถานีอนามัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

Bloom, S. J. (1975). Taxonomy of education objective, hand book1: cognitive domain.

New York: David Mckay.

Daniel, W. W. (2005). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. New

York: John Wiley & Sons.

Green, L., & Kreuter, M. (1999). Health promotion planning: an educational and

ecological approach. California: Mayfield Publishing Company.

World Health Organization. (2019). Childhood overweight and obesity. Retrieved from

https://www.who.int/health-topics/hypertension/