การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วยคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วยคิวอาร์โค้ด กรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วยคิวอาร์โค้ดและ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ระบบ พัฒนาระบบโดยใช้ภาษา PHP สร้างฐานข้อมูลโดยใช้ MySQL ระบบแบ่งผู้ใช้ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้ดูแลระบบ 2) เจ้าหน้าที่ 3) อาจารย์ 4) นักศึกษา
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่า โดยภาพรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าระบบมีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ระบบโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน จากผู้ใช้ 3 กลุ่ม คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัตตกมล พศแลงาม. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์สำหรับการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาภาษาการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2, 18 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี. 262 – 272.
กาสี เมกจอน, และสมาน อัศวภูมิ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2555-2556. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(3), 117–124.
ณัฐวุฒิ บุญโรจน์วงค์ และกชกร พระพรตระการ. (2560). ความหลากหลายของคิวอาร์โค้ด. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 117-126.
ทวีศักดิ์ พุทธรัตน์, และไพฑูรย์ งิ้วทั่ง. (2560). ระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย คิวอาร์โค้ด. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, 20 มกราคม 2560 ณ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม. 563-571.
ประทีป พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง, และอาภากร ปัญโญ. (2561). การสร้างระบบเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code ในรายวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(1), 11-26.
แพรวทิพา เครือเพ็ชร, และมณเฑียร รัตนศิริดวงศ์วุฒิ. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการครุภัณฑ์ในองค์กรด้วยเทคโนโลยี RFID และ QR Code. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประยุกต์และระบบสารสนเทศ ครั้งที่ 14,
กรกฎาคม 2561.ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร. 76-81.
มงคล รอดจันทร์, อวยไชย อินทรสมบัติ, และธานิล ม่วงพูล. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค้ด สำหรับการบันทึกการเข้าห้องเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 88-96.
Buenaflor, L. (2017). ISO 9126 Software quality characteristics. Retrieved April 15, 2020, from https://medium.com/@leanardbuenaflor/iso-9126-software-quality-characteristics-a25a26e7d046