การพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร ประกอบด้วย วิธีการปลูกพืช วิธีการใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวผลผลิต สื่อวิดีโอให้ความรู้ด้านการเพาะปลูก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานระบบง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลมากขึ้น ผลจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบคลังความรู้ด้านการเกษตรในภาพรวมผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.43 เมื่อพิจารณาตามลำดับความพึงพอใจ พบว่า ส่วนใหญ่หลังจากใช้ระบบมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.70 รองลงมามีความพึงพอใจที่ระบบสามารถเป็นสื่อในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่สะดวกอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.65 และพึงพอใจข้อมูลครอบคลุมตามความต้องการ อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 4.10
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัลยา มิขะมา, ลำปาง แม่นมาตย์, และสุจินต์ สิมารักษ์. (2555). กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ของ
เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 128-139.
จิรศักดิ์ พุ่มเจริญ, กมลวรรณ แดงสุข, และลักษนันท์ พลอยวัฒนาวงศ์. (2562). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการวางแผนการเกษตร. วาสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 112-123.
จีราวุธ วารินทร์. (2557). สร้างเว็บไซด์ด้วย WordPress+Themes & Plugin สำหรับผู้เริ่มต้น. กรุงเทพฯ: รีไวว่า.
บุหลัน กุลวิจิตร. (2560). สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2440-2454.
ปราโมทย์ เหลาลาภะ และคณะ. (2556). การจัดการความรู้ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 69-81.
สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(1), 25-37.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือน มกราคม 2563.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์, เพ็ญศรี ปักกะสีนัง, และดาเรศ วีระพันธ์. (2561). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุม
มาตรฐานเกษตรปลอดภักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโครงการวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 74-82.
อัญชลี ยิ้มสมบูรณ์, สุนีย์ กาศจำรูญ, สุวิมล อังควานิช, และกฤษณพล จันทร์พรหม. (2554). การจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2). 56-66.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.