ประสิทธิภาพของเจลผสมสารสกัดหยาบโนราในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เจลผสมสารสกัดหยาบโนราในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus epidermidis TISTR 518, Staphylococcus aureus TISTR 1466, Staphylococcus aureus TISTR 2329 , Streptococcus mutans DMST 14283 และ Proteus vulgaris DMST 557 สารสกัดหยาบจากส่วนใบและลำต้นโนรานำมาทำการทดสอบก่อนการตั้งตำรับ (Pre-formulation) เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 5 สายพันธุ์ หลังจากนั้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลผสมสารสกัดโนรา และทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคด้วยวิธี Disc diffusion method รวมถึงการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ในสภาวะเร่ง (Heating cooling cycle method) ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบจากใบและลำต้นโนรามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้ง 5 สายพันธุ์ โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) อยู่ระหว่าง 3.9 - 125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis TISTR 518 ได้ดีที่สุดโดยมีค่า MIC เท่ากับ 3.90 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ทั้งนี้สารสกัดหยาบจากใบมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดหยาบจากลำต้น เมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลผสมสารสกัดหยาบจากใบโนราและเจลผสมสารสกัดหยาบจากลำต้นโนรา พบว่าเจลทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus epidermidis TISTR 518, Staphylococcus aureus TISTR 1466 และ Staphylococcus aureus TISTR 2329 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบโนรามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบผลิตภัณฑ์เจลในสภาวะเร่ง พบว่าค่าความเป็นกรด-ด่างเพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียลดลง
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จุไรรัตน์ รักวาทิน. (2547). แนวทางการเสนอรายงานความคงสภาพของตำรับยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:กระทรวงสาธารณสุข.
ชนิตา ธีระนันทกุล และดนัย ศิริบรรจงโชค. (2549). การพัฒนาตำรับไพโบรอินอิมัลเจลเพื่อการรักษาแผลที่มีการติดเชื้อ. เภสัชศาสตรบัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฐิติมา ละอองฐิติรัตน์ (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนังจากสารสกัดหยาบต้นโนรา (Hiptage candicans Hook.f.). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทิฐิมา ภาคภูมิ, กัลยาภรณ์ จันตรี, และอรพิณ โกมุติบาล. (2559). ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบพลูเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(1): 1-20.
ปุณยนุช นิลแสง, และจิตติมา กอหรั่งกูล. (2561). การพัฒนาการผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสจากน้ำสมุนไพร.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 13(3): 123-134.
พรเทพ เต็มรังษี. (2554). ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดสมุนไพรต่อเชื้อที่แยกจากแผลติดเชื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดลักษณะของเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559. (2559, 29 กุมภาพันธ์) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 73ง หน้า 20.
ศศมล ผาสุข, และประเสริฐ มีรัตน์. (2557). พิษกึ่งเฉียบพลัน พิษเฉียบพลันและองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบจากใบสดแป๊ะตำปึง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(2): 19-28.
สุธิดา ชาญวานิชกุล, โองการ วณิชาชีวะ, และพนิดา แสนประกอบ. (2562). การพัฒนาตํารับกันแดดจากสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแก. Walailak Procedia. 2019(3): 1-5.
สุนทรี จีนธรรม, จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท, และปัณณ์รภัส ถกลภักดี. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในชุมชน ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(3): 137-148.
สุรางค์รัตน์ พันแสง, และพวงผกา แก้วกรม. (2562). ฟลาโวนอยด์และฟินอลิกในส่วนต่าง ๆ ของต้นกําลังช้างเผือกและผลต่อลิมโฟไซต์และโมโนไซต์ในหนู. วารสารนเรศวรพะเยา. 12(1) : 10-12.
Bhukya, B., R. & Yellu, N. R. (2018). Evaluation of anticancer activity of methanolic extract of Hiptage benghalensis (L.) Kurz on Cancer Cell Lines. Pharmacognosy Research. 10: 309-313.
Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI). (2009). Methods for dilution antimicrobial susceptibility test for bacteria that grow aerobically; approved standard-eighth edition. CLSI documents M07-A8. Clinicaland Laboratory Standard Institute, Wayne, Pa.
Hsu, C. L., Fang, S. C., Huang, H. W., & Yen, G. C. (2015). Anti-inflammatory effects of triterpenes and steroid compounds isolated from the stem bark of Hiptage benghalensis, Journal of Functional Foods, 12: 420-427.
La-ongthitirat, T. Phasuk S., & Nilsang, P. (2019). Antimicrobial activity of Hiptage candicans (Hook.f.) Sirirugsa crude extracts against human pathogens. In the proceeding of the 3rd National and International Research conference 2019 (NIRC II 2019) February 1, 2019. Buriram Rajabhat University, Thailand. p 542-554.
Meena, A. K., Meena J., Jadhav, A., & Padhi, M. M. (2014). A review on Hiptage benghalensis
(Madhavilata) used as an Ayurvedic drug. Asian Journal of Pharmacy and Technology. 4 (1): 28-31.
Murugan, M., & Mohan V.R. (2011). Evaluation of phytochemical analysis and antibacterial activity of Bauhinia purpurea L. and Hiptage benghalensis L. Kurz. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 1(9): 157-160.
Nilsang, S. (2018). Effect of spray drying temperature on quality of instant herbal drinks. Food and Applied Bioscience Journal. 6 (special issue): 55-68.