การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมจากเซลล์ในระยะอินเตอร์เฟสและเมทาเฟสด้วย เทคนิคฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่น

Main Article Content

จุรีพร คำพันธ์
รักษวรรณ ดีโนนโพธิ์

บทคัดย่อ

ฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่น เป็นเทคนิคที่ในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมที่มีขนาดเล็กกว่าระดับสายตามองเห็นจากวิธีการย้อมแถบสีบนโครโมโซม รวมถึงตรวจหาการฟิวชั่นยีนในมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยตรวจได้ทั้งในเซลล์ระยะอินเตอร์เฟสและเมทาเฟสจุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่นในการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่น กลุ่มอาการดิจอร์จ (การหลุดหายของโครโมโซมตำแหน่ง 22q11) มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (t(9; 22) (q34;q11.2)) และกลุ่มอาการพาทู (การมีโครโมโซมที่ 13 เกินมา) การเตรียมเซลล์ใช้ไขกระดูกและเลือดของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การเตรียมเซลล์ในระยะเมทาเฟส ทำได้โดยนำตัวอย่างมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 72 ชั่วโมง ส่วนการเตรียมเซลล์ในระยะอินเตอร์เฟสทำไม่ต้องทำการเลี้ยงเซลล์ จากนั้นทำให้เซลล์บวมคงตัวและหยดลงบนสไลด์ แล้วนำไปย้อมด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่น ใช้เซลล์ในระยะอินเตอร์เฟส ส่วนการตรวจหาการเกิดฟิวชั่นของยีน BCR/ABL เนื่องมาจาก t(9;22)(q34;q11.2) ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ใช้เซลล์ในระยะอินเตอร์เฟส ดังนั้นการใช้เทคนิคฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่น โดยใช้เซลล์ระยะอินเตอร์เฟส เหมาะกับการใช้ในงานดูฟิวชั่นยีนในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเพื่อออกผลเป็นร้อยละหรือการวินิจฉัยในกรณีเร่งด่วน ส่วนเซลล์ระยะเมทาเฟสใช้เวลารอคอยผลนานกว่า เหมาะสมในการวินิจฉัยความผิดปกติที่ต้องการเห็นรูปร่างโครโมโซมด้วย ทั้งนี้ การตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์อินซิตู้ไฮบริไดเซชั่นในปัจจุบัน สามารถใช้เซลล์ได้ทั้งจากระยะอินเตอร์เฟสและเมทาเฟส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agis, H., Jaeger, E., Doninger, B., Sillaber, C., Marosi, C., Drach, J., & Oehler, L. (2006). In vivo effects of imatinib mesylate on human haematopoietic progenitor cells. Eur J Clin Invest, 36(6), 402-408. doi:10.1111/j.1365-2362.2006.01645.x

Bishop, R. (2010). Applications of fluorescence in situ hybridization (FISH) in detecting genetic aberration of medical significance. Bioscience Horizones, 3, 11.

Dascalescu, C. M., Callanan, M., Chauvet, M., Le Baccon, P., Pegourie-Bandelier, B., Garban, F., & Leroux, D. (1999). Interphase FISH: a rapid method for detecting malignant plasma cells in multiple myeloma patients submitted to autologous transplantation. Bone Marrow Transplant, 23(7), 687-694. doi:10.1038/sj.bmt.1701626

Gall, J. G., & Pardue, M. L. (1969). Formation and detection of RNA-DNA hybrid molecules in cytological preparations. Proc Natl Acad Sci U S A, 63(2), 378-383. doi:10.1073/pnas.63.2.378

Jalal, S. M., & Law, M. E. (1997). Detection of newborn aneuploidy by interphase fluorescence in situ hybridization. Mayo Clin Proc, 72(8), 705-710. doi:10.4065/72.8.705

McGowan-Jordan, J., Simons, A., & Schmid, M. (2016). ISCN 2016: an international system for human cytogenomic nomenclature (2016) (Vol. 149). Switzerlans: Karger.

Nguyen, H. N., & Reijo Pera, R. A. (2008). Metaphase spreads and spectral karyotyping of human embryonic stem cells. CSH Protoc, 2008, pdb prot5047. doi:10.1101/pdb.prot5047

Philip, J., Bryndorf, T., & Christensen, B. (1994). Prenatal aneuploidy detection in interphase cells by fluorescence in situ hybridization (FISH). Prenat Diagn, 14(13), 1203-1215. doi:10.1002/pd.1970141306

Wolff, D. J., Bagg, A., Cooley, L. D., Dewald, G. W., Hirsch, B. A., Jacky, P. B., & American College of Medical Genetics Laboratory Quality Assurance, C. (2007). Guidance for fluorescence in situ hybridization testing in hematologic disorders. J Mol Diagn, 9(2), 134-143. doi:10.2353/jmoldx.2007.060128

Yang, W. X., Pan, H., Wang, S. T., Li, L., Wu, H. R., & Qi, Y. (2016). Detection of recurrent 4p16.3 microdeletion with 2p25.3 microduplication by multiplex ligation-dependent probe amplification and array comparative genomic hybridization in a fetus from a family with Wolf-Hirschhorn syndrome. Taiwan J Obstet Gynecol, 55(1), 104-108. doi:10.1016/j.tjog.2015.12.006

Yang, Y., Liu, Y., Huang, N., & Xie, K. (2015). [Comparison of results of improved FISH and conventional karyotyping analysis of 2607 amniotic fluid samples]. Zhonghua Yi Xue Yi Chuan Xue Za Zhi, 32(6), 785-788. doi:10.3760/cma.j.issn.1003-9406.2015.06.006