ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร และผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรคในชุมชนตลาด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สุกฤษฏิ์ ใจจำนงค์
สุกัญญา นันทะ
คณิชา แจ่มจิต
บุหงา กาหลง
วิลาสินี บุญเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบชนิดเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรค คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ คือ ประชาชนอายุ 20ขึ้นไปที่มีอาชีพค้าขายสินค้าประเภทข้าวสาร อาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ณ ตลาดประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยได้รับโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร และผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรค (หนูและแมลงวัน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความหนาแน่นของจำนวนหนูและแมลงวันลดลง และระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรคอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 93.3)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2563). การควบคุมพาหะนำโรคแมลงวัน. สืบค้นจาก http://env.anamai.moph.go.th/ ewtadmin/ewt/env/ewt_dl_link.php?nid=939.

จิรารัตน์ จันทวัชรากร, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า, และมนตรี วีรยางกูร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็กกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค: การศึกษาเปรียบเทียบร้านค้าปลีกดั้งเดิมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10 (3), 42-60.

เดชา ทำดี, และวิลาลัณย์ เตือนราษฎร์. (2555). การวินิจฉัยชุมชนและการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา. เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นท์ติ้งจำกัด.

เทศบาลตำบลพระอินทราชา. (2557). ข้อมูลสภาพทั่วไป. สืบค้นจาก http://praintaracha.go.th/public /location/data/index/menu/24.

ภานุกิจ กันหาจันทร์, และคณะ. (2561). ประสิทธิผลในการไล่แมลงวันบ้าน (Musca domestic) ของน้ำมันหอมระเหย 8 ชนิด.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27 (2), 364–375.

สุวิมล เลี้ยงเชวงวงศ์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคชาว สปป. ลาว ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิวัฏ ธวัชสิน. (2554). ปัญหา "แมลงวัน-แมลงสาบ" หลังน้ำลด. สืบค้นจากhttp://nih.dmsc.moph.go. th/login/showimgdetil.php?id=103.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed), New Jersey: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook The Cognitive Domain, New York: David McKay.

Bloom, B. S. (1971). Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning, New York: Graw-Hill Book Company.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25 (140), 1–55.

Rosmawati, N. K., et al. (2016). Effect of food safety training on food handlers’ knowledge and practices. British Food Journal, 118(4), 795-808.

Wen-Hwa, K. (2011). Food Sanitation Knowledge, Attitude, and Behavior for the University Restaurants Employees. Food and Nutrition Sciences, 2(07).