การพัฒนารูปแบบการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากขยะย่อยสลายได้ผสมกับกากไขมัน

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากขยะย่อยสลายได้ผสมกับกากไขมัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนารูปแบบและศึกษาสมบัติของผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากขยะย่อยสลายได้ผสมกับกากไขมัน ด้วยวิธีการอัดแท่งที่ไม่ผ่านความร้อนให้เป็นแท่งเชื้อเพลิง ทำการศึกษาระยะเวลาในการอบแท่งเชื้อเพลิง ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เวลา 20 40 และ 60 นาที และทำการศึกษาอัตราส่วนของกากไขมัน และ ขยะย่อยสลาย ได้แก่  เศษผักและเศษผลไม้ เศษอาหาร และเศษหญ้าและเศษใบไม้ และทำการศึกษาคุณสมบัติของแท่งเชื้อเพลิง ได้แก่ ค่าความร้อน ความชื้น สารระเหย ปริมาณคาร์บอนคงตัว และเถ้า พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมที่มีสมบัติด้านเชื้อเพลิงโดยรวมเหมาะสมที่สุดเมื่อทำการพิจารณา ร่วมด้วย คือ กากไขมัน : เศษหญ้าและเศษใบไม้ (75:25) ที่ให้ค่าความร้อน 6,892  กิโลแคลอรี/กิโลกรัม  ความชื้นร้อยละ 3.39 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 14.47 สารระเหยร้อยละ 70.42 และเถ้าร้อยละ 3.21 โดยแท่งเชื้อเพลิงที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงประเภทฟืน ถ่านไม้ หรือวัสดุอื่นๆที่เป็นวัสดุเชื้อเพลิง เนื่องจากมีค่าความร้อนที่ใกล้เคียงกับวัสดุเหล่านั้น และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน (มผช. 238/254) และมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน. (2561). ฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทยประจำปี เพาะปลูก พ.ศ. 2561.

กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. กรุงเทพมหานคร.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2552). โครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรม และลดปริมาณการที่ต้องฝังกลบ ปีงบประมาณ 2552. กรุงเทพมหานคร.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). คู่มือแนวทางและเกณฑ์คุณสมบัติของเสียเพื่อแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงและบล็อกประสาน, กรุงเทพมหานคร.

ธนิยา เกาศล, วัฒนา ศรีเกตุ, และวิชัยรัตน์ แก้วเจือ. (2562) ถ่านอัดแท่งจากเถ้าหนักของโรงไฟฟ้าชีวมวลจากรากไม้ยางพารา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 24, อุดรธานี, 10-12 กรกฎาคม 2562, 29-36.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล. (2557). การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและครัวเรือน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี), 6(11). 66-77.

Jittabut, P. (2015). Physical and Thermal Properties of Briquette Fuels from Rice Straw and Sugarcane Leaves by Mixing Molasses. Energy Procedia, 79(1), 10-17.

Mitchual, S. J. (2013). Frimpong-Mensah, K. & Darkwa, N.A. Effect of species, particle size and compacting pressure on relaxed density and compressive strength of fuel briquettes. International Journal of Energy and Environmental Engineering, 2013, 4(1). 805-815.

Pongthornpruek, S. & Sasitharanuwat, A. The Utilization of Bamboo Residues and Grease Waste for Charcoal Briquette Production. Applied Mechanics and Materials, 2019, 886(1).154-158.

Ward, B. J. Yacob, T. W. & Montoya, L. D. (2014). Evaluation of Solid Fuel Char Briquettes from Human Waste. Environmental Science & Technology, 2014, 48(1). 9852-9858.