ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ
เอกตระการ แข็งแรง
ชนานันท์ บุตรศรี
พิชญา ดุพงษ์
กิตติมา ลาภอนันต์บังเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งเป็นเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 322 คน ซึ่งมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไปของบุคคล แบบทดสอบความเครียด แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ค่าไคสแควร์
       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 34.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ของนักศึกษา สภาพแวดล้อมทางการเรียน อาคารสถานที่ การเรียนการสอน การให้บริการผู้เรียน สัมพันธภาพในครอบครัว และสัมพันธภาพกับเพื่อน ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้เหมาะสมและ มหาวิทยาลัยควรมีกิจกรรมส่งเสริมสัมพันธภาพกับครอบครัวและเพื่อน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์, และทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมสุขภาพจิต. (2541). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพฯ : สยามเอ็มแอนด์บีพับลิซซิ่ง.

ชุติมา อนันตชัย, กรองทิพย์ นาควิเชตร, และเริงจิตร กลันทปุระ. (2555). การศึกษาสาเหตุระดับความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 1(1), 15-22.

ชัยชนะ นิ่มนวล. (2557). ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญยธรณ์ ทองแก้ว. (2559). ความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีทรัพย์ ผาใต้, และณัฐวุฒิ แดงประเสริฐ. (2553). การศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ (รายงานผลงานวิจัย). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นภัสกร ขันธควร. (2558). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาณิภา เสียงเพราะ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, และอรวรรณ แก้วบุญชู. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เขตภาคกลาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์, 8(1), 24-25.

พรรณพิมล หล่อตระกูล. (2545). เครียดระดับสร้างสรรค์. หมอชาวบ้าน, 23(274), 9-16.

วรวรรณ จุฑา, ดวงกมล ลืมจันทร์, และเขมาจิรารักษ์ เรืองจุติโพธิ์พาน. (2554). รายงานสถานการณ์ความเครียดคนไทย เมษายน 2552-เมษายน 2554. นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต.

วราภรณ์ ตระกูลสกฤษดิ์. (2545). จิตวิทยาการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ศิริวรรณ สุวินท์. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมิต อาชวนิจกุล. (2537). เครียดเป็นบ้า. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร (ดอกหญ้า).

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 93.

สิปปากร สมสกุล. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชกองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัฒน์ มหิตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(1), 1-20.

สมโภชน์ เอี่ยยมสุภาษิต และคณะ. (2546). ความแตกต่างของเพศ ชั้นปี และสาขาวิชามีผลกระทบต่อระดับความเครียดและการจัดการความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Mary, P., & Daniel, M. (2003). What Predicts Adjustment among Law Students a Longitudinal Panel Study. The Journal of Social Psychology, 56(1), 727-745.

Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. 1970. Determining Simple Size of Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lazarus, R. S. (1996). Psychological Stress and Coping Processes. Retrieved from http://medind.nic.in/jak/t06/i1/jakt06i1p106.pdf.

Paoin, S. (2010). Tension, Self-Adjustment of Nurse Students: BoromarajonaniCollege of Nursing Nonthaburi. Master Thesis. Kasetsart University.