การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิคอิงกฎสำหรับแนะนำการกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การกายภาพบำบัดที่ถูกวิธีช่วยในการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการกายภาพบำบัดได้ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงวิธีการกายภาพบำบัดที่ถูกต้องและการขอคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิคอิงกฎสำหรับแนะนำการกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต ระบบนี้จะให้คำแนะนำสำหรับการกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยกฎการแนะนำการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 7 กฎ ซึ่งประกอบด้วย 2 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) คะแนนรวมที่ได้จากดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และ 2) ประเภทของอัมพาต นอกจากนี้ระบบยังสามารถบันทึกประวัติการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดูแลผู้ป่วย และสาธิตการกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 15 ท่า และท่านอนสำหรับผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 3 ท่า ในรูปแบบวีดิทัศน์ วัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบด้วยแบบประเมิน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักกายภาพบำบัด จำนวน 2 คน ประเมินด้วยแบบประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาในระบบ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.13, S.D. = 0.33) และ กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 20 คน ประเมินด้วยแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.33, S.D. = 0.62)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมควบคุมโรค สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). กรมควบคุมโรครณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต, สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail /2/02/133619/
กลุ่มพัฒนานโยบายสาธารณะและสื่อสารความเสี่ยง กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562, สืบค้นจาก https://drive.google.com/drive/folders/ 143fbev2Vf3UEbPNnsAFjQrwbp P3B2lqM
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564), สืบค้นจาก https://www.iccp-portal.org/system/files/plans/Thailand%20National%20NCD%20plan %202017-2021.pdf
กานดา ชัยภิญโญ, และสมใจ ลือวิเศษไพบูลย์. (2558). ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านกายภาพบำบัด การปฏิบัติหน้าที่แนวทางการแก้ไขปัญหา และประเด็นการปฏิรูป, สืบค้นจาก http://pt.or.th/ PTCouncil/file_attach/24Mar201536-AttachFile1427182476.pdf
โกเมศ อัมพวัน. (2559). บทที่ 6 การจำแนกประเภทและการทำนายข้อมูล, สืบค้นจาก https://staff.informatics.buu.ac.th/~komate/886464/%5B6%5D-Classification.pdf
นิสาศรี เสริมพล, สายพิณ ประเสริฐสุขดี, และภครตี ชัยวัฒน์. (2559). ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหา ในการให้บริการกายภาพบำบัดด้านเด็กในโรงพยาบาลชุมชน, วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 28(1), 69-79.
บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์, สุพัตรา อังศุโรจน์กุล, พรพชร กิตติเพ็ญกุล และลัดดา ลาภศิริอนันต์กุล. (2554). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, สืบค้นจาก https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/khuumuuekaarfuuenfuusmrrthphaaphphuupwyorkhhld_0.pdf
ไพรัช มโนสารโสภณ. (2563). ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพที่มีต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุติดบ้าน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 13-23.
สกรณ์ บุษบง. (2556). การสร้างกรณีทดสอบสำหรับการทดสอบระดับรวมหน่วยแบบเพิ่มทีละหน่วย โดยอัตโนมัติจากกรณีทดสอบระดับหน่วย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุจิตรา บุญหยง. (2555). กายภาพบำบัดเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมอง, สืบค้นจากhttps://www.thaihp.org/index.php?option=viewhome&lang=th&id=203&layout=0
สุจิตรา มหาสุข. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 : โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง. (หน้า 628). กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตาก. (2562). ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดงาน “แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต จังหวัดตาก ครั้งที่ 5 เฉลิมพระเกียรติ”. สืบค้นจาก http://123.242.165.136/?module=news &pages=detail_news&news_code=N0006533
อาคม รัฐวงษา. (2561). การพัฒนาแนวทางจัดการรายกรณีเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ต่อเนื่องที่บ้านโรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 24(1), 22-39.
World Stroke Organization. (2019). Learn about stroke. Retrieved from https://www.world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/why-stroke-matters/learn-about-stroke